วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
29 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ฐานะและบทบาทของสตรีสยามในสมัยปฏิรูป นับตั้งแต่ทศวรรษ ๒๔๔๐ ชนชั้นน� ำสยามมีความชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับฐานะและบทบาทของ สตรีที่เปลี่ยนไปเพื่อให้เป็นผลดีต่อการปฏิรูปบ้านเมืองให้มีความเจริญรุ่งเรือง รวมทั้งจากวิถีชีวิต บางประการที่เปลี่ยนไปด้วย กล่าวคือสตรีโดยเฉพาะสตรีชั้นสูงและชั้นกลางถูกคาดหวังให้ปรับภาระ ในบ้านให้สอดคล้องไปด้วย น่าสังเกตว่าความคาดหวังใหม่ของสังคมต่อบทบาทของสตรียังคงจ� ำกัดอยู่ เฉพาะขอบเขตของงานในบ้าน นั่นก็คือ การเป็น “เมีย แม่ และแม่เรือน” โดยเน้นที่คุณภาพของหน้าที่ให้เป็น “เมีย แม่และแม่เรือน” ที่มีประสิทธิภาพตามแนวทางของสังคมตะวันตก ดังนี้ ๘ เมียในฐานะเพื่อนคู่คิด การที่บุรุษชั้นสูงและชั้นกลางต้องรับผิดชอบงานใหม่ ๆ ในสมัยปฏิรูปประเทศส่งผลให้มีความ ต้องการภรรยาผู้ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมบ้างไม่มากก็น้อย เพื่อจะได้พูดคุยกับสามีในฐานะ เป็น “เพื่อนคู่คิด” ได้บ้าง มิใช่เป็นเพียงผู้ปรนนิบัติทางกายตามแนวคิดแบบจารีต แม่ในฐานะครูคนแรก จากการพยายามที่จะวางอนาคตของสยามในแนวทางของอารยประเทศ ปัญญาชนสยามได้ รับอิทธิพลจากความคิดของตะวันตกเกี่ยวกับความส� ำคัญของคนรุ่นใหม่ต่ออนาคตของประเทศเน้น ความส� ำคัญของการศึกษาส� ำหรับเยาวชนของชาติทั้งในระบบโรงเรียนและก่อนวัยเรียนบทบาทของแม่ จึงมิได้จ� ำกัดอยู่เฉพาะการเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโตทางกายเท่านั้นแต่รวมถึงพัฒนาการทางสติปัญญาด้วย เมียและแม่ในฐานะแม่เรือนผู้รอบรู้ สตรีชั้นสูงและชั้นกลางยังได้รับการคาดหวังให้เป็นแม่เรือนผู้รอบรู้ในเรื่องการต้อนรับแขก เรื่องสุขอนามัย รวมทั้งการควบคุมรายรับรายจ่ายของครอบครัวอันเนื่องมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ ระบบเงินตราของสยาม เมื่อความคาดหวังใหม่ของสังคมต่อผู้หญิงมีความเข้มข้นตั้งแต่ทศวรรษ ๒๔๔๐ เป็นต้นไปดังกล่าว ปัญญาชนหลายฝ่ายเห็นควรส่งเสริมการศึกษาส� ำหรับผู้หญิงเพื่อให้มีคุณสมบัติที่จะสามารถตอบสนอง ความคาดหวังดังกล่าว สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถเองก็ต้องทรงศึกษาเรียนรู้ด้วยพระองค์เอง ในบางครั้งก็สร้างความกังวลพระราชหฤทัยดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราช ๘ สุวดี ธนประสิทธิ์พัฒนา, “สถานภาพทางสังคมของสตรีไทยสมัยปฏิรูปประเทศ” , ฝ่ายวิจัย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๕ (อัดส� ำเนาเย็บเล่ม), หน้า ๕๕-๖๓ อ้างถึงใน สุวดี เจริญพงศ์ และปิยนาถ บุนนาค (บรรณาธิการ). สตรีแถวหน้าในประวัติศาสตร์ เอเชีย . (กรุงเทพฯ : ส� ำนักพิมพ์บ้านพิทักษ์อักษร, ๒๕๕๐), หน้า ๖๘-๗๐.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=