วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

371 ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิ ต เอกจริ ยกร วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ดังกล่าวไว้เช่นเดิมหรือไม่ หากไม่เหมาะสมก็ให้เสนอท� ำการยกเลิก เพราะกฎหมายดังกล่าวเกิดในช่วงที่ ไม่เป็นประชาธิปไตย ค. มีกฎหมายบางฉบับที่ออกในสมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เช่น พ.ร.บ.รถยนต์ (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่เสนอโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยได้มีการแก้ไขกฎหมายก� ำหนดให้รถยนต์เป็น ทรัพย์สินที่จ� ำนองได้เพื่อให้เป็นหลักประกันหนี้ได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นทางเลือกให้กับประชาชนและเพื่อ ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคม พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ พ.ค. ๒๕๕๑ แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติไม่ได้เสนอโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงคือกรมการขนส่งทางบก ทุกวันนี้การจ� ำนองรถยนต์ยังท� ำไม่ได้ เนื่องจากต้องมีการออกกฎกระทรวงก� ำหนดรายละเอียดในการ รับจดทะเบียนจ� ำนองรถยนต์ซึ่งกรมการขนส่งทางบกเห็นว่า ในทางปฏิบัติอาจเกิดปัญหาได้ จึงไม่มีการ ออกกฎกระทรวง ดังนั้น การเสนอพระราชบัญญัติโดยที่หน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ได้เป็นผู้เสนอตั้งแต่แรก อาจเกิดปัญหาในท� ำนองนี้อีก จากที่กล่าวไปแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่า ปัญหาการตรากฎหมายฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศไทยมีอยู่ กล่าวคือในสภาพที่การเมืองเป็นปกติ การด� ำเนินการเป็นไปอย่างล่าช้ามาก ๆ จนท� ำให้ขาดกฎหมายใหม่ที่ เหมาะสมในการขับเคลื่อนประเทศในด้านต่าง ๆ แสดงถึงความบกพร่องของกลไกของการนิติบัญญัติของ ประเทศไทย ๒๙ ครั้นในสมัยที่มีการปฏิวัติ กลับมีการออกกฎหมายในรูปของพระราชบัญญัติจ� ำนวนมาก แต่บางส่วนการขาดความรอบคอบเพราะความรีบเร่งที่จะท� ำผลงานและความคิดว่าเป็นสภานิติบัญญัติ แห่งชาติที่มีวาระสั้น ๆ เท่านั้น ความพอดีจึงยังขาดอยู่ในระบบการตรากฎหมายฝ่ายนิติบัญญัติของ ประเทศไทย ประเด็นอยู่ที่ว่าท� ำอย่างไรจึงจะเกิดความพอดี ให้มีการตราพระราชบัญญัติที่จ� ำเป็นในสมัย ที่ประเทศไทยอยู่ในภาวะปกติ มีพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณามากขึ้นกว่าเดิมอีก ๒ ถึง ๓ เท่า เพื่อให้เป็นการเพียงพอแก่การพัฒนาประเทศที่ต้องพึ่งพาการออกพระราชบัญญัติเพื่อใช้เป็นกลไกส่วนหนึ่ง ในการขับเคลื่อน โดยอาจน� ำข้อบกพร่องหรือปัญหาที่ผู้เขียนยกมากลับไปสร้างหรือปรับปรุงระบบที่ใช้อยู่ ในปัจจุบัน ส่วนในช่วงที่ประเทศไทยมีการปกครองในสภาพไม่ปกติ การตราพระราชบัญญัติก็ไม่ควรรีบร้อน ควรพิจารณาให้รอบคอบ สมาชิกสภานิติบัญญัติก็ต้องกล้าแสดงความคิดเห็นและกล้าคัดค้านหรือเสนอแนะ เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ ไม่ควรเอาใจผู้ใดผู้หนึ่งหรือคณะใดคณะหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่ให้ค� ำนึง ถึงความถูกต้องและผลประโยชน์ของประเทศตลอดจนผลประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศเป็นส� ำคัญ ๒๙ ซึ่งได้มีความคิดเห็นว่า ควรที่จะลดจ� ำนวนกฎหมายที่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา โดยให้เป็นอ� ำนาจของฝ่ายบริหาร โดยให้รัฐสภา อนุญาตให้ฝ่ายบริหารไปตราพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เพื่อจะได้ลดเวลาของรัฐสภาให้เหลือเวลาไปพิจารณากฎหมายที่ส� ำคัญเท่านั้น ดู ณัฐนันท์ อิทธิยาภรณ์, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ ๑๑

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=