วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
369 ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิ ต เอกจริ ยกร วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ การสมัยประชุมสามัญแบ่งออกได้ ๒ ลักษณะคือ สมัยประชุมสามัญทั่วไปและสมัยประชุม สามัญนิติบัญญัติ ในการแยกสมัยประชุมทั้ง ๒ ลักษณะดังกล่าว มีเจตนารมณ์เพื่อให้การท� ำหน้าที่ของ สมาชิกรัฐสภาในการตรากฎหมายมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ๒๘ ข. สมัยประชุมวิสามัญ เป็นการประชุมรัฐสภาในกรณีพิเศษนอกเหนือไปจากสมัยประชุม สามัญที่มีขึ้นเป็นปกติ ๒. การพยายามสร้างกลไกอื่นในการยกร่างพระราชบัญญัติโดยกรรมการที่ฝ่ายนิติบัญญัติ แต่งตั้งขึ้นเอง เช่น การแต่งตั้งกรรมการยกร่างโดยประธานรัฐสภาในสมัยนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และอนุกรรมการเพื่อออกกฎหมายรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เช่น การน� ำร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์ พ.ศ. ... ของกระทรวงพาณิชย์ที่ค้างพิจารณามาหลายปี น� ำขึ้นมา พิจารณาโดยคณะอนุกรรมการเพื่อน� ำเสนอต่อคณะกรรมการและเสนอรัฐสภาต่อไป โดยเมื่อท� ำเสร็จ จะให้สมาชิกรัฐสภาฝ่ายรัฐบาลเข้าชื่อเสนอต่อรัฐสภาโดยตรง แต่ต่อมามีการด� ำเนินการได้เพียงเล็กน้อย ก็มีค� ำสั่งยกเลิกเพราะเรื่องงบประมาณค่าเบี้ยประชุม และความไม่เหมาะสมที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะเสนอร่าง กฎหมายแข่งกับรัฐบาล ที่กล่าวมาแล้วเป็นขั้นตอนในการตรากฎหมายในช่วงปกติ ส่วนขั้นตอนในการตรากฎหมายในช่วง การปฏิวัติเช่นในปัจจุบัน จะมีขั้นตอนบางอย่างที่สั้นกว่าแม้บางอย่างจะมีขั้นตอนในการเสนอร่างพระราช บัญญัติคล้ายคลึงกับขั้นตอนในการเสนอร่างพระราชบัญญัติในช่วงปกติ ท� ำให้การพิจารณาร่างพระราช บัญญัติต่าง ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วเพราะไม่มีพรรคฝ่ายค้านหรือวุฒิสภา มีเพียงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่คณะปฏิวัติแต่งตั้ง เช่น เมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้เข้าควบคุมอ� ำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และได้ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ สิ้นสุด ลง และต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก� ำหนดให้ผู้ที่สามารถเสนอพระราชบัญญัติต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คือ ๑. คณะรัฐมนตรี ๒. สภาปฏิรูปแห่งชาติ ๓. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจ� ำนวนไม่น้อยกว่า ๒๕ คน การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในชั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้นจะมี ๓ วาระในท� ำนองเดียว กับการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในเวลาปกติ โดยตามมาตรา ๑๕ ของรัฐธรรมนูญ ก� ำหนดว่าร่าง ๒๘ เช่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=