วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
ปัญหาในการตรากฎหมายฝ่ายนิ ติ บั ญญั ติ ของประเทศไทย 368 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 บางฉบับมีเนื้อหาและสาระส� ำคัญยาก กลับใช้เวลาน้อย เพราะไม่มีคนกล้าอภิปรายหรือแสดงความเห็น เพราะกลัวเสียหน้าจากความไม่รู้ ๒๓ ฉ. หากมีร่างพระราชบัญญัติที่ฝ่ายค้านเป็นผู้เสนอ แม้รัฐบาลจะเห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ดังกล่าว รัฐบาลมีสิทธิที่จะดึงร่างกฎหมายมาศึกษาก่อนเป็นเวลา ๑ เดือนได้ แต่เรื่องนี้ในความเป็นจริง อาจเป็นเพียงการถ่วงเวลา จากนั้นจะให้ส� ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดท� ำร่างกฎหมายในเรื่อง ดังกล่าวขึ้นมาใหม่ ให้เป็นร่างกฎหมายฉบับรัฐบาล และส่งไปประกบกับร่างกฎหมายของฝ่ายค้าน ท� ำให้ เกิดการเสียเวลา ๒๔ ช. ความไม่มีเอกภาพของรัฐบาลในการเสนอและพิจารณาร่างกฎหมาย ๒๕ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ มีสมาชิกมาประชุมไม่ครบ หรือพรรคร่วมรัฐบาลอาจไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายดังกล่าว ซ. ที่ผ่านมา การพิจารณาในรัฐสภามักมีกรอบเวลา แม้มีการขยายเวลาได้แต่ไม่นาน แต่ในช่วงการ พิจารณาของฝ่ายบริหารตามขั้นตอนต่าง ๆ กลับไม่ปรากฏว่ามีการวางกรอบเวลาในการจัดท� ำและเสนอร่าง กฎหมาย จึงท� ำให้บางครั้งร่างกฎหมายไปค้างการพิจารณาที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นเวลานานมาก ซึ่งน่าจะต้องหาหนทางก� ำหนดกรอบเวลาในการด� ำเนินการเช่นเดียวกับการพิจารณาในชั้นรัฐสภา ฌ. หลังจากร่างกฎหมายผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาแล้ว อาจมีการให้ตรวจสอบว่าร่างกฎหมาย ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาถึง ๒ ปี ๒๖ ปัญหาที่กล่าวมาแล้ว ไม่ใช่ว่าจะไม่มีการพยายามที่จะแก้ไข ในความเป็นจริงที่ผ่านมาได้มีความ พยายามในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่บ้าง เช่น ๑. การก� ำหนดให้มีสมัยประชุม ๒๗ สภานิติบัญญัติ เป็น ๒ สมัย กล่าวคือ ก. สมัยประชุมสามัญ เป็นการก� ำหนดวันประชุมสภาโดยปกติในระยะเวลา ๑ ปี ซึ่ง ระยะเวลาของสมัยประชุมจะก� ำหนดโดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญบางฉบับก� ำหนด ระยะเวลาไว้ ๙๐ วัน บางฉบับก� ำหนดระยะเวลาไว้ ๑๒๐ วัน แต่สามารถขยายระยะเวลาได้ ๒๓ ดู ณัฐนันท์ อิทธิยาภรณ์, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ ๑๑, และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ), สัมมนาเรื่อง “การปรับปรุง กระบวนการนิติบัญญัติเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน” ASTV ผู้จัดการรายวัน, http://www.manager.co.th/daily/ ViewNews.aspx?NewsID=9550000030832, สืบค้นวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ ๒๔ เพิ่งอ้าง ๒๕ เพิ่งอ้าง ๒๖ ณัฐนันท์ อิทธิยาภรณ์, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ ๑๑ ๒๗ สมัยประชุม หมายถึง ระยะเวลาการประชุมรัฐสภาที่ได้ก� ำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่าในปีหนึ่งรัฐสภาจะมีการประชุมกี่ครั้ง แต่ละครั้งมี ระยะเวลานานเท่าใด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=