วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

367 ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิ ต เอกจริ ยกร วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ประเด็นที่น่าพิจารณามีว่า เหตุใดขั้นตอนในการน� ำเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับหนึ่ง ๆ จนกว่า จะผ่านการพิจารณาออกมามีผลใช้บังคับได้จึงต้องใช้เวลามาก ค� ำตอบในเรื่องนี้มีได้หลายประการ เช่น ก. ระบบการเมืองการปกครองของประเทศไทยไม่มีเสถียรภาพ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และยุบสภาบ่อย ตลอดจนในช่วงหลัง ๆ มีการขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างกลุ่มประชาชนที่มีความคิดเห็น ไม่ตรงกัน ข. ในบางครั้งมีแนวความคิดว่าร่างพระราชบัญญัติที่ค้างพิจารณาอยู่ก่อนมีการเปลี่ยนรัฐบาลที่ จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม สาระส� ำคัญของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวรัฐบาลชุดใหม่ ไม่เห็นด้วยเพราะมีนโยบายที่แตกต่างกัน จึงไม่ผลักดันให้มีการด� ำเนินการต่อไป ค. ในกรณีที่ต้องมีการออกกฎหมายอนุวัติการให้เป็นไปตามอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ส่วนใหญ่ แล้วจะร่างเป็นภาษาต่างประเทศ จะต้องมีการแปลอนุสัญญาระหว่างประเทศเป็นภาษาไทย และน� ำมาผนวก ไว้กับพระราชบัญญัติหรือน� ำมาบัญญัติเป็นสาระส� ำคัญในร่างพระราชบัญญัติ ท� ำให้ต้องใช้เวลานานมาก ในต่างประเทศบางประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้ภาษาอังกฤษอยู่แล้ว สามารถน� ำบทบัญญัติของ อนุสัญญามาผนวกไว้เป็นภาคผนวกโดยไม่ต้องแปลบทบัญญัติของอนุสัญญาให้เป็นภาษาของประเทศตนอีก ส่วนตัวบทของตัวพระราชบัญญัติจะบัญญัติไว้เพียงสั้น ๆ ซึ่งหากมีการต้องแปลบทบัญญัติของอนุสัญญา ระหว่างประเทศให้เป็นภาษาไทย จะเกิดปัญหาว่าค� ำภาษาอังกฤษบางค� ำไม่สามารถจะหาค� ำแปลเป็นภาษา ไทยได้ตรงตามเจตนารมณ์ ซึ่งหากต่อมามีการน� ำพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ร่างเป็นภาษาไทยไปใช้บังคับ อาจท� ำให้มีผลทางกฎหมายไม่ตรงกับตัวบทของอนุสัญญาระหว่างประเทศ และในทางวิชาการยังมีปัญหาว่า กฎหมายไทยควรจะยอมรับให้มีการด� ำเนินการเหมือนกับที่ต่างประเทศท� ำโดยไม่ต้องมีการแปลอนุสัญญา ระหว่างประเทศที่ประเทศไทยจะต้องเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาและออกกฎหมายอนุวัติการ โดยมีความเห็นว่า หากท� ำเช่นนั้น เมื่อมีปัญหาการตีความ คนไทยและประเทศไทยจะเสียเปรียบ ดังนั้นหากมีการแปลหรือ เก็บความอนุสัญญาระหว่างประเทศมาเป็นภาษาไทยจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมกว่า ง. การที่กระทรวง หรือกรมเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อคณะรัฐมนตรี แต่ไม่ด� ำเนินการตาม ขั้นตอนให้ถูกต้องพร้อมมีรายละเอียดครบถ้วน ร่างพระราชบัญญัติจึงถูกส่งกลับไปให้ด� ำเนินการให้ถูกต้อง ก่อนส่งกลับมาที่คณะรัฐมนตรีใหม่ ๒๒ จ. บางครั้งการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในรัฐสภาเกิดความล่าช้าเพราะเล่นเกม หรือแสดง โวหารกันมาก จึงท� ำให้ร่างกฎหมายบางฉบับที่มีเนื้อหาสาระส� ำคัญง่าย กลับใช้เวลามาก แต่ร่างกฎหมาย ๒๒ มูลนิธิสถาบันวิจัยกฎหมาย (Legal Research Institute Foundation: LRIF), อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ ๑๐, น. ๖๓

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=