วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
361 ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิ ต เอกจริ ยกร วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ชั้นต่อส� ำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการของ ร่างพระราชบัญญัติแล้ว จะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้ตรวจพิจารณาทั้งสาระส� ำคัญและรูปแบบ ๑๑ เมื่อพิจารณาเสร็จแล้ว ส� ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะส่งร่างพระราชบัญญัติกลับไปที่ส� ำนัก เลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ส� ำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อคณะกรรมการ ประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) และสภาผู้แทนราษฎรตามล� ำดับ ในการพิจารณาของ สภาผู้แทนราษฎรจะแบ่งการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเป็น ๓ วาระตามล� ำดับ ได้แก่ ๑๒ วาระที่ ๑ ขั้นรับหลักการ วาระที่ ๒ ขั้นการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการและการพิจารณารายมาตรา วาระที่ ๓ ขั้นลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมาย เมื่อสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฉบับใดแล้ว สภาผู้แทนราษฎรจะเสนอร่าง พระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภา เมื่อวุฒิสภาได้รับร่างนั้นแล้วก็จะด� ำเนินการโดยการแบ่งเป็น ๓ วาระ เช่นเดียวกับการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร โดยที่วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอ มาให้เสร็จภายใน ๖๐ วัน ๑๓ ถ้าวุฒิสภาพิจารณาไม่เสร็จภายในก� ำหนดเวลา ให้ถือร่างพระราชบัญญัตินั้น ผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภา ในการลงมติของวุฒิสภานั้นอาจเกิดขึ้นได้ ๓ กรณีคือ วุฒิสภาให้ความเห็นชอบโดยไม่มีการแก้ไข หรือวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบ หรือวุฒิสภาให้มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ เมื่อร่างพระราชบัญญัติผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภาแล้ว นายกรัฐมนตรีจะน� ำร่างพระราชบัญญัติ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธย และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ปัญหาการตรากฎหมายฝ่ายนิติบัญญัติในภาวะปกติ ที่พบได้เสมอและที่เป็นปัญหาใหญ่และ ส� ำคัญคือ ความชักช้าในการด� ำเนินการผ่านร่างพระราชบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่ง บางครั้งใช้เวลากว่า ๑๐ ปี นับตั้งแต่การยกร่างโดยผู้เกี่ยวข้องและการด� ำเนินการเพื่อให้พระราชบัญญัติดังกล่าวได้ผ่านออก มาประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมาย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่น่าน� ำมาพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง ๑๔ และในแต่ละปีมี ๑๒ เป็นการสรุปภาพรวมโดยย่อเท่านั้น ๑๓ แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน ๓๐ วัน เว้นแต่วุฒิสภาได้ลงมติขยายเวลาออกไปเป็นกรณี พิเศษซึ่งต้องไม่เกิน ๓๐ วัน ๑๔ จนมีผู้เคยเปรยให้ได้ยินว่าการตรากฎหมายของประเทศไทยเป็นการตรา “กฎหมายเจ็ดชั่วโคตร” ซึ่งหมายความไปในท� ำนองว่าการ ที่จะออกกฎหมายฉบับหนึ่ง ๆ ใช้เวลานานมาก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=