วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

359 ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิ ต เอกจริ ยกร วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๔ เพิ่งอ้าง, น. ๔. ๕ เพิ่งอ้าง, น. ๒๙-๓๐. ๖ เพิ่งอ้าง, น. ๘๐, สมคิด เลิศไพฑูรย์, ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐธรรมนูญกับพระราชบัญญัติในช่วงการยึดอ� ำนาจการปกครองประเทศ โดยคณะรัฐประหาร, บทความน� ำเสนอต่อที่ประชุมส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน, วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘, น.๒. ๗ รัฐสิทธิ์ คุรุสุวรรณ, กฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป (Civil Law: General Principles) , (กรุงเทพมหานคร : ส� ำนักพิมพ์นิติธรรม) พิมพ์ครั้งที่ ๒, ๒๕๔๘, น. ๗๑- ๗๒. เมื่อสังคมมีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น มีความก้าวหน้าทางวิชาการและมีการน� ำเทคโนโลยีมา ในการด� ำรงชีวิตและการประกอบธุรกรรมต่าง ๆ สิ่งดังกล่าวท� ำให้เกิดความสลับซับซ้อนในสังคมมากขึ้น ท� ำให้เกิดคนเห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบกันจนความขัดแย้งมากเกินกว่าที่จะน� ำจารีตประเพณีมาใช้แก้ไข ปัญหาสังคมจ� ำจึงเป็นต้องมีวิธีการใหม่ ๆ มาแก้ไขคือ การบัญญัติกฎหมาย จึงมีกระบวนการนิติบัญญัติและ องค์กรนิติบัญญัติเกิดขึ้นในยุคหลัง ท� ำให้เกิดกฎหมายประเภทใหม่ๆ ที่เป็นกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร ในรูปของพระราชบัญญัติ พระราชก� ำหนด พระราชกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวง ๔ และจากนั้นได้มีการ พัฒนามาเป็นการจัดท� ำกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งการจัดท� ำกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร จะมีกระบวนการในการจัดท� ำ โดยกระบวนการดังกล่าวขึ้นอยู่กับประเภทของกฎหมายนั้น ๆ ว่าอยู่ใน ล� ำดับใด ส� ำหรับประเทศไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยและสมัยกรุงศรีอยุธยา ชนชาติไทยมีกฎเกณฑ์ของกฎหมาย ใช้บังคับอยู่แล้ว ทั้งที่เป็นกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เกิดจากจารีตประเพณีหรือเป็นกฎหมายที่ได้ รับอิทธิพลจากต่างชาติ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กฎหมายไทยสืบทอดมาจากสมัยสุโขทัยและ สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีการรวบรวมและตรวจช� ำระให้เหมาะสม เรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” ส่วน การจัดท� ำประมวลกฎหมายนั้นได้เริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ และต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติต่าง ๆ เรื่อยมาตามล� ำดับ ซึ่งนับได้ว่าเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรของประเทศไทย ในปัจจุบันนี้ กฎหมายลายลักษณ์อักษรแยกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๓ ประเภท ได้แก่ ๑. กฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ พระราชบัญญัติ ๒. กฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร ได้แก่ พระราชก� ำหนด พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง ๓. กฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบัญญัติ ข้อบังคับจังหวัด ข้อบังคับ ต� ำบล ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบังคับเมืองพัทยา กฎหมายลายลักษณ์อักษรมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีศักดิ์ไม่เท่ากันโดยเรียงล� ำดับขั้นสูงไปขั้นต�่ ำ กฎหมายที่อยู่ในระดับต�่ ำกว่าจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่อยู่ในล� ำดับสูงกว่าไม่ได้ ส� ำหรับล� ำดับศักดิ์ ของกฎหมายตั้งแต่ล� ำดับสูงสุดไปล� ำดับต�่ ำมีดังนี้ ๗

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=