วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ปัญหาในการตรากฎหมายฝ่ายนิติบัญญัติ ของประเทศไทย ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิต เอกจริยกร ๑ ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ ปัญหาการตรากฎหมายฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศไทยมีอยู่ กล่าวคือในสภาพที่การเมือง เป็นปกติ การด� ำเนินการเป็นไปอย่างล่าช้ามาก ๆ จนท� ำให้ขาดกฎหมายใหม่ที่เหมาะสมในการขับเคลื่อน ประเทศในด้านต่าง ๆ แสดงถึงความบกพร่องของกลไกของการนิติบัญญัติของประเทศไทย ครั้นในสมัย ที่มีการปฏิวัติรัฐประหารกลับมีการออกกฎหมายในรูปของพระราชบัญญัติจ� ำนวนมาก แต่บางส่วนการ ขาดความรอบครอบเพราะความรีบเร่งที่จะท� ำผลงานและความคิดว่าเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่มีวาระ สั้น ๆ เท่านั้นความพอดีจึงยังขาดอยู่ในระบบการตรากฎหมายฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศไทย ค� ำส� ำคัญ : การตรากฎหมาย, นิติบัญญัติ, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มนุษย์ชอบอยู่ร่วมกันเป็นสังคม และเมื่อมนุษย์มารวมตัวอยู่ด้วยกันเป็นสังคม แต่ละคนที่มาอยู่ ร่วมกันนั้นย่อมมีความคิดเห็นและมีความประพฤติที่แตกต่างกันไปในสังคมแล้วแต่พื้นฐานทางสังคมของ แต่ละคน ความคิดเห็นหรือความประพฤติดังกล่าวอาจท� ำให้เกิดความไม่เป็นระเบียบหรือความขัดแย้งกัน จึงจ� ำเป็นต้องมีการวางระเบียบหรือก� ำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อควบคุมความประพฤติให้อยู่ร่วมกัน ได้โดยปกติสุขและเกิดความสงบเรียบร้อย ๒ ระเบียบหรือกฎเกณฑ์ดังกล่าวในช่วงแรก ๆ แต่แรกอาจเกิดขึ้น จากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีปฏิบัติ และหลังจากมีการประพฤติปฏิบัติต่อเนื่องกันมานาน ๆ อาจกลายเป็นจารีตประเพณีและกฎหมาย ระเบียบหรือกฎเกณฑ์ถือได้ว่าเป็นกฎหมายที่ใช้เป็นเครื่องมือ ในการควบคุมสังคมและเป็นเรื่องที่ขาดเสียไม่ได้ ดังค� ำกล่าวที่ว่า “ที่ใดมีสังคมที่นั่นมีกฎหมาย” ๓ ๑ ศาสตราจารย์ประจ� ำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ๒ ณัฐพงศ์ โปกะบุตร และพรชัย สุนทรพันธ์, หลักกฎหมายเอกชน (Principle of Private Law) , (กรุงเทพมหานคร : ส� ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามค� ำแหง), ๒๕๔๒, น.๑. ๓ สมยศ เชื้อไทย, ค� ำอธิบายความรู้กฎหมายทั่วไป , (กรุงเทพมหานคร : ส� ำนักพิมพ์วิญญูชน), ๒๕๔๖, น.๓๓.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=