วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
ย้อนคิ ด : ทรรศนะทางจริ ยศาสตร์ของโสกราตี ส เรื่ อง ธรรมชาติ ของมนุษย์ หน้าที่ และการอยู่ในสั งคม 354 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 บทวิพากษ์ โสกราตีสเป็นนักปรัชญาที่มีทรรศนะแบบจิตนิยม (Idealism) ที่เชื่อว่ามีสภาพความจริงอีก ประเภทหนึ่งที่ไม่ใช่วัตถุ เป็นนามธรรมและเป็นสากล (universal) ซึ่งจะเข้าถึงได้ด้วยปัญญาและเหตุผล ของวิญญาณมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ความดีตามความเห็นของแต่ละคน แต่ละวัฒนธรรมอาจต่างกัน แต่ ถ้ามนุษย์ได้ไตร่ตรองด้วยปัญญาและเหตุผลก้าวให้พ้นจากประสบการณ์ประสาทสัมผัสและความรู้สึก ส่วนตัวก็จะเข้าถึงความดีที่ตรงกันได้ เป็นความดีสากล ค� ำถามเกิดขึ้นว่าความสามารถทางปัญญาของ มนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกัน ท� ำอย่างไรบุคคลจึงจะเข้าถึงความจริงขั้นสูงระดับสากลนี้ได้ โสกราตีส ให้ค� ำตอบเรื่องนี้ว่า ครูผู้สอนจะต้องใช้วิธีกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดรู้จักตั้งค� ำถามและค้นหาค� ำตอบในสิ่งที่ ต้องการรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้เริ่มด้วยการตั้งค� ำถาม โดยมีครูเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือ คอยโต้แย้ง เพื่อให้ผู้เรียนพยายามตอบ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่โสกราตีสใช้เรียกว่า Socratic method มีสาระส� ำคัญ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจกัน (sympathetic personal relationship) ๑๕ ครูต้องเข้าใจธรรมชาติของศิษย์ซึ่งอาจมีปัญหาในการเรียนรู้ ครูจะต้องช่วยทีละขั้นตอน เพื่อให้ศิษย์พบค� ำตอบทางปัญญาได้ คุณสมบัติของครูจึงส� ำคัญอย่างมาก สังคมที่มีพื้นฐานทางคุณธรรม โสกราตีสมีความคิดว่า สังคมจะต้องมีลักษณะพื้นฐานที่ส� ำคัญ คือเป็นสังคมที่มีคุณธรรม ประชาชนในสังคมรู้และเข้าใจตรงกันในคุณธรรมหลักของสังคมรวมถึงมีหน้าที่ ส� ำคัญที่จะต้องช่วยรักษาคุณธรรมของสังคมไว้ แม้บุคคลแต่ละคนจะมีความคิดเห็นต่างกัน มีเสรีภาพในการ แสดงความเห็นตามระบอบของสังคมประชาธิปไตย แต่เป้าหมายรวมของสังคมมีความส� ำคัญเหนือกว่าสิ่ง อื่นใด การสร้างบรรยากาศทางจริยธรรม (ethical climate) ที่เป็นอัตลักษณ์ของสังคมจึงเป็นเรื่องส� ำคัญ สังคมที่อ่อนแอทางคุณธรรมย่อมไม่อาจด� ำรงอยู่ได้ โสกราตีสไม่ได้สิ้นหวังในสภาพของสังคมเอเธนส์และ ความไม่เป็นธรรมที่ตนได้รับ แต่กลับมีความเชื่อว่าบุคคลในสังคมย่อมมองเห็นความผิดพลาดและช่วยกัน แก้ไข นี่คือเหตุผลที่มีผู้วิพากษ์ว่าเหตุใดโสกราตีสจึงยอมรับค� ำพิพากษาแทนการหลบหนี ใครเป็นผู้ก� ำหนดคุณธรรมหลักของสังคม โสกราตีสไม่ได้ตอบเรื่องนี้อย่างชัดเจน แต่จากค� ำพูดของ โสกราตีสจะเอ่ยถึงบุคคลส� ำคัญที่ได้รับการยกย่องจากประชาชน เนื่องจากสังคมกรีกในสมัยนั้นปกครอง ด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยตรง ตามความหมายของประชาธิปไตยคืออ� ำนาจเป็นของประชาชน (people power) ประชาชน (เฉพาะผู้ชาย) จะมาร่วมประชุมและยกมือโหวตออกเสียง เมื่อเป็นเช่นนี้คุณธรรมหลัก ของสังคมจึงมาจากประชาชนเป็นสิ่งที่ประชาชนยอมรับ ประเด็นนี้จึงอาจสรุปได้ว่า คุณธรรมหลักของ สังคมนอกจากจะเป็นสิ่งที่คนในสังคมยอมรับ ผู้น� ำของสังคมจะต้องเป็นแบบอย่าง ๑๕ Magee, Bryan. Op cit. p. 23
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=