วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
353 รองศาสตราจารย์สิ วลี ศิ ริ ไล วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ทั้งปัจจุบันและในอนาคตจะต้องภาคภูมิใจในรัฐของเรา เราไม่ต้องการค� ำชมจากบุคคลหนึ่งบุคคลใด เพราะค� ำชมจะคงอยู่เพียงชั่วขณะก็จะเลือนไป แต่สิ่งที่เราจะทิ้งไว้ให้คนรุ่นต่อไปในอนาคตได้รับรู้ คือความเป็นจริงของสิ่งที่เราได้ท� ำไว้ ด้วยจิตวิญญาณแห่งการผจญภัยของเราที่เดินทางไปทุกแผ่นดิน และพื้นที่ เราได้ทิ้งความทรงจ� ำของสิ่งที่ดีที่เราได้ปฏิบัติต่อมิตรของเรา และการลงโทษที่เรากระท� ำ แก่ศัตรูของเรา สิ่งเหล่านี้จะปรากฏแก่ชาวโลกตลอดไป” จากค� ำกล่าวของเพอริเคลส จิตวิญญาณของเอเธนส์คือ ความภาคภูมิใจ ความมั่นใจในความเป็น ตัวเอง มีระบอบการปกครองที่ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วม มีการเคารพกฎหมายของสังคม ประชาชน มีคุณภาพเข้าใจในระบอบการปกครอง รู้ตระหนักในหน้าที่ ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาเบื้องต้น และได้รับการศึกษาขั้นสูงตามความประสงค์และความสามารถ ประกอบกับในยุครุ่งเรืองซึ่งเป็นยุคของ ความเจริญทางวิชาการ สังคมเอเธนส์เป็นที่รวมของนักปรัชญาคนส� ำคัญจ� ำนวนมาก ท� ำให้ชาวกรีกสมัยนั้น มีโอกาสได้ฟังความคิดเห็น ได้มีโอกาสสนทนากับนักปรัชญาโดยตรง ซึ่งถือเป็นแนวทางของการส่งเสริม สติปัญญาให้ “คิดเป็น” อีกแนวทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม มีข้อที่น่าสังเกตหลายประการเกี่ยวกับวิถีชีวิตตามระบอบประชาธิปไตยของเอเธนส์ ประการแรก เอเธนส์เป็นนครรัฐที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่จ� ำนวนประชากรไม่มาก การที่ประชาชนชาวกรีกแต่ละ คนจะมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกเสียงรับรองกฎหมาย นโยบายของรัฐหรือผู้น� ำทางการทหาร จึง ท� ำได้โดยมาออกความเห็นและยกมือรับรองซึ่งเป็นรูปแบบของประชาธิปไตยโดยตรง (Direct Democracy) ประการที่สอง แม้ว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและถือว่าบุคคลแต่ละคนเท่าเทียมกันตามกฎหมาย แต่เด็กและสตรีก็ไม่ได้รับการปฏิบัติเหมือนประชาชนทั่วไป ตามวัฒนธรรมกรีกสตรีจะไม่มีสิทธิเข้าร่วมพิธี ส� ำคัญหรือเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬา ประการที่สาม สังคมกรีกยังคงมีทาสและชีวิตทาสก็อยู่ภายใต้อ� ำนาจ ของผู้เป็นนาย เว้นแต่จะได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งก็คือการออกกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายก็อาจมีปัญหาโดยศึกษาได้จากความคิดเห็นของพวกโสพิทส์ (the Sopluists) ที่ไม่ยอมรับกฎหมายโดยถือว่า กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือของผู้มีอ� ำนาจ กฎหมายบังคับใช้เฉพาะผู้ที่ อ่อนแอและไม่มีอ� ำนาจ ผู้ปกครองหรือผู้บริหารอาจใช้ช่องโหว่ของกฎหมายก� ำจัดบุคคลที่ตนไม่พอใจ การตัดสินประหารชีวิตโสกราตีสเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน สิ่งส� ำคัญประการหนึ่งที่ชวนให้วิเคราะห์ก็คือ การท� ำให้คนมีคุณภาพด้วยการศึกษาซึ่งจะน� ำไปสู่ การเข้าใจระบอบของประชาธิปไตย คือ การตระหนักในความเป็นตัวเอง (autonomy) การเคารพสิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น การเคารพกฎหมายและการค� ำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของสังคม รวมถึงการเข้าใจความ หมายของ “เสียงข้างมาก” อย่างแท้จริง ถ้าพิจารณาจากทรรศนะของนักปรัชญากรีกคนส� ำคัญในสมัยนั้น คือโสกราตีส เพลโต และอริสโตเติ้ล การศึกษาก็คือการพัฒนาหรือการเปลี่ยนบุคคลให้รู้จักคิดด้วยปัญญา เข้าถึงสัจธรรมที่เป็นความจริง ความดี ความงาม และความยุติธรรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=