วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
351 รองศาสตราจารย์สิ วลี ศิ ริ ไล วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ บุคคลก็ไม่อาจถือเอาความคิดของตนเป็นใหญ่ และด� ำเนินการตามความคิดของตนหรือโดยการช่วยเหลือ ของผู้อื่น (โสกราตีส หมายถึง บรรดาศิษย์และเพื่อนที่จะช่วยให้ตนหลบหนี) ถ้าท� ำตามความคิดของตนเอง ก็ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่าสถานภาพการเป็นพลเมืองหรือประชาชนของสังคมเอเธนส์เหนือกว่ากฎ ที่พึงรักษาพื้นฐาน คือการเคารพปฏิบัติตามกรอบกติกาของสังคม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ถ้าสังคมคล้อย ตามความเห็นของตนว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง ตนจึงจะยอมรับปฏิบัติตามกฎหมาย โสกราตีสมีความเห็นว่า การเข้ามาเป็นพลเมืองหรือประชาชนโดยมีพื้นฐานความคิดเช่นนี้ สังคมจะยังคงอยู่ได้อย่างไร และ ถ้าบุคคลแต่ละคนพูดว่า ข้าพเจ้าจะร่วมมือกับท่านตราบเท่าที่ท่านยอมรับการตัดสินใจของข้าพเจ้าที่ว่าอะไร คือสิ่งที่ดีส� ำหรับข้าพเจ้า ข้อผูกพันทางจริยธรรมระหว่างบุคคลที่จะไม่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ ก็จะกลายเป็น ว่าสิ่งที่ถูกต้องส� ำหรับบุคคลทุกคนที่จะต้องกระท� ำหรือปฏิบัติก็คือท� ำตามสิ่งที่ตนเห็นว่าถูกต้อง ซึ่งบุคคล เหล่านี้ก็จะไม่ยอมอุทิศตนต่อสิ่งใดนอกจากท� ำตามความประสงค์ของตนเองคือผู้ตัดสินสูงสุด โสกราตีส เห็นว่าความคิดเช่นนี้กระทบต่อความมั่นคงของสังคม ๑๒ ในสังคมกรีกช่วงเวลาที่โสกราตีสมีชีวิตอยู่ การที่ประชาชนของเอเธนส์เคารพกติกาและกรอบของ สังคมเป็นสิ่งส� ำคัญ เมื่อบุคคลใดกระท� ำในสิ่งที่ละเมิดต่อกฎเกณฑ์ของสังคมจะถูกประชาชนในสังคมออก เสียงให้ออกจากเอเธนส์ไปอยู่ที่อื่น (ostracized) เป็นเวลา ๑๐ ปี ตามระบอบของการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยโดยตรงของกรีกขณะนั้นคือประชาชนออกเสียงลงคะแนนด้วยตัวเอง โดยไม่ผ่านผู้แทน จิตวิญญาณของวิถีประชาธิปไตย ในด้านการเมืองถึงแม้เอเธนส์จะท� ำสงครามกับเปอร์เซียและ นครรัฐสปาตาร์หลายครั้ง และบางครั้งก็ประสบความพ่ายแพ้สูญเสียทรัพย์สินและสถานที่ส� ำคัญอย่าง รุนแรง แต่เอเธนส์ก็สามารถฟื้นตัวกลับสู่สถานภาพความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การทรงอ� ำนาจของกองทัพ ทางทะเล ความเจริญรุ่งเรืองทางวิชาการโดยเฉพาะด้านปรัชญา และการเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมกรีก การด� ำรงชีวิตของชาวกรีกเป็นไปตามวิถีทางของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีสาระส� ำคัญ ตามค� ำกล่าวของเพอร์ริเคลส (Pericles) ผู้น� ำคนส� ำคัญของสังคมเอเธนส์ยุครุ่งเรืองที่ได้กล่าวในโอกาส ร� ำลึกถึงบรรดาทหารที่เสียชีวิตในการท� ำสงครามกับนครรัฐสปาร์ตา โดยทูไซดิเดส (Thucydides) นักประวัติศาสตร์สมัยนั้นได้บันทึกไว้มีสาระส� ำคัญดังต่อไปนี้ ๑๓ “การปกครองระบอบประชาธิปไตยของเราชาวเอเธนส์เป็นรูปแบบของเราเองที่ไม่ได้ลอกเลียน ของใครมา แต่ระบอบการปกครองของเราจะเป็นแม่แบบแก่ผู้อื่น ธรรมนูญการปกครอง (constitution) ของเราได้ชื่อว่า ประชาธิปไตย เพราะอ� ำนาจการปกครองมาจากประชาชนทั้งหมดของประเทศไม่ใช่เป็น ๑๒ Loc. Cit. ๑๓ Melchert Norman. The Great Conversation: A Historical Introduction to Plilosophy (London: Mayfield Publisling Company, 1995) pp 36-37.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=