วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
ย้อนคิ ด : ทรรศนะทางจริ ยศาสตร์ของโสกราตี ส เรื่ อง ธรรมชาติ ของมนุษย์ หน้าที่ และการอยู่ในสั งคม 346 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ๑ Magee, Bryan. The Story of Philosophy . (London: A Dorling Kindersley Book, 2010) p. 20. ๒ E. Stumpf, Samuel. Elements of Philosophy An Introduction . 2 nd . ed. (New York: Mc Graw-Hill Book Company, 1987). p. 6. ๓ H. Poplin Richard, Stroll Aurum. Philosophy Made Simple . (New York: A Made Simple Book, Doubleday. 1993). p. 188. โสกราตีสไม่ได้ให้ความสนใจแก่เรื่องดังกล่าว แต่เสนอความคิดว่า เรื่องที่ส� ำคัญและจ� ำเป็นอย่างยิ่ง ต่อการแสวงหาค� ำตอบ คือ มนุษย์เราควรประพฤติปฏิบัติตนอย่างไร และควรด� ำรงชีวิตอย่างไร จึงจะเป็นชีวิตที่ดี ค� ำถามที่โสกราตีสน� ำมาเป็นประเด็นของการสนทนาโต้แย้ง ได้แก่ ความดีคืออะไร ความถูกต้องคืออะไร ความยุติธรรมคืออะไร และคนดีคือคนแบบไหน โสกราตีสมีความเห็นว่าการพบ ค� ำตอบค� ำถามดังกล่าวนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการด� ำรงชีวิตของมนุษย์เราแต่ละคน ๑ ด้วยเหตุนี้ โสกราตีสจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของจริยศาสตร์ ผู้วางรากฐานที่เป็นระบบของจริยศาสตร์ ซึ่งเป็น สาขาย่อยของอัคฆวิทยา [(Axiology) แยกออกเป็น ๒ สาขาย่อย ได้แก่ จริยศาสตร์และสุนทรียศาสตร์ (aesthetics)] จุดเริ่มต้นของการโต้แย้งทางจริยศาสตร์ ก่อนหน้าที่โสกราตีสจะเสนอความคิดทางจริยศาสตร์อย่างชัดเจน ในสังคมของนครรัฐเอเธนส์ ขณะนั้นมีปราชญ์ชาวกรีกที่เรียกว่า โสฟิสท์ (Sohists) เสนอแนวความคิดที่แตกต่างออกไปจากบรรดา นักปรัชญากรีกขณะนั้น สาระส� ำคัญของความคิดของพวกโสฟิสท์ คือ การไม่เชื่อในการมีอยู่ของความจริง (truth) โดยเฉพาะความจริงสากล (universal truth) ที่มนุษย์ทุกคนจะเห็นตรงกัน พวกโสฟิสท์มี ความคิดว่า ความจริงของแต่ละคนย่อมขึ้นอยู่กับประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของแต่ละคน ดังนั้นจึง ไม่อาจหามาตรการที่จะตัดสินความจริงที่แท้ได้ โปรธากอรัส (Protagoras) โสฟิสท์คนส� ำคัญคนหนึ่งกล่าวว่า “มนุษย์เป็นมาตรการวัดทุกสิ่ง” (man is themeasure of all things) ตัวของมนุษย์แต่ละคนจึงเป็นมาตรฐาน การตัดสินความจริงส� ำหรับตน ๒ จอร์เจียส (Gorgias) โสฟิสท์อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “ไม่มีอะไรเป็นอยู่มีอยู่ ถ้ามีอยู่ก็เป็นสิ่งที่มนุษย์เราไม่อาจรู้ได้ หรือถ้ารู้ได้ ก็ไม่สามารถสื่อสารได้ (nothing exists, and if it did, no one could knaw it, and if they knew it, they could not communicate it) ๓ ซึ่งหมายความว่า ความจริงสากลไม่มีอยู่ ตัวอย่างที่ส� ำคัญของเรื่องนี้ ได้แก่ พระเจ้า ซึ่งโสฟิสท์ปฏิเสธและไม่ให้ความส� ำคัญ พวกโสฟิสท์สอนวิชาวาทศิลป์ (rhetoric) การเอาชนะคู่สนทนาด้วยวิธีการพูดที่ใช้โวหาร ไหวพริบ การโน้มน้าว จูงใจมากกว่าการใช้เหตุผลและความรู้ การด� ำรงชีวิตในสังคมอย่างประสบความส� ำเร็จ คือเป้าหมาย ที่ส� ำคัญ ไม่ว่าความส� ำเร็จนั้นจะได้มาด้วยวิธีใด ฮิปโปกราตีส (Hippocrates) ผู้เป็นเพื่อนคนหนึ่ง ของโสกราตีส มีความตื่นเต้นที่จะไปเป็นศิษย์ของโสฟิสท์ เมื่อโสกราตีสถามว่าท่านจะไปศึกษาอะไร กับโสฟิสท์ ฮิปโปกราตีสตอบไม่ได้ ทั้งคู่จึงชวนกันไปพบกับโปรธากอรัสผู้มีชื่อเสียง โสกราตีสแนะน� ำ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=