วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ย้อนคิด : ทรรศนะทางจริยศาสตร์ของโสกราตีส เรื่อง ธรรมชาติของมนุษย์ หน้าที่ และการอยู่ในสังคม รองศาสตราจารย์สิวลี ศิริไล ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ โสกราตีส (๔๖๙-๓๙๙ ปีก่อนคริสต์ศักราช) นักปรัชญาเอกชาวกรีก มีชีวิตอยู่ในช่วงระยะ เวลายุคทองของปรัชญากรีก เป็นคนแรกที่สอนว่าสิ่งที่เราจ� ำเป็นต้องรู้ ได้แก่ เรื่องเราควรด� ำรงชีวิตและ ปฏิบัติตนอย่างไร ธรรมชาติของมนุษย์คือสิ่งมีภาวะที่มีเหตุผล คนดีคือคนที่มีเหตุผล การปฏิบัติด้วย เหตุผลคือพฤติกรรมที่สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ ความรู้ที่แท้จริงสามารถบรรลุถึงได้ด้วยปรีชา ญาณช่วยท� ำให้มนุษย์ตัดสินอย่างถูกต้อง ความเชื่อมโยงระหว่างความรู้กับการปฏิบัติเป็นลักษณะส� ำคัญ ที่สุดของทรรศนะทางจริยศาสตร์ของโสกราตีส จากประเด็นนี้ โสกราตีสย�้ ำว่า “คุณธรรมคือความรู้” โสกราตีสตระหนักรู้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสังคมจะต้องปฏิบัติตามกรอบข้อผูกพันทาง จริยธรรมของสังคม รัฐ สังคม ให้สิ่งที่ดีแก่บุคคล ได้แก่ ความมั่นคง ความคุ้มครอง การศึกษา ฯลฯ ด้วยคุณความดีของประโยชน์ที่ได้รับเหล่านี้ท� ำให้เกิดเงื่อนไขที่บุคคลจะต้องเคารพและรักษากรอบของ การปฏิบัติทางสังคม โสกราตีสประกาศด้วยความมั่นใจว่า จริยธรรมมีพื้นฐานอยู่บนความเท่าเทียมกัน ของสิทธิและหน้าที่ สังคมที่มีพื้นฐานทางจริยธรรมจะมีอยู่เป็นอยู่ได้ก็ด้วยการตระหนักยอมรับเรื่องนี้ ค� ำส� ำคัญ :  ธรรมชาติของมนุษย์, ข้อผูกพันทางจริยธรรม, สิทธิและหน้าที่, สังคมที่มีพื้นฐานทางจริยธรรม ภูมิหลัง โสกราตีส (Socrates ๔๖๙-๓๙๙ ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักปรัชญากรีก ชาวนครรัฐเอเธนส์ (Athens) มีชีวิตอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ปรัชญากรีกเจริญรุ่งเรืองสูงสุด เรียกว่า ยุคทอง (golden age) โดยมี ศูนย์กลางอยู่ที่นครรัฐเอเธนส์ ก่อนช่วงระยะเวลาดังกล่าว นักปรัชญากรีกที่อยู่ในนครรัฐไอโอเนีย (Ionia) ให้ ความสนใจเรื่องของโลกธรรมชาติและพยายามหาค� ำอธิบายเรื่องธรรมชาติ กฎธรรมชาติ ด้วยวิธีการคิดแบบ คาดคะเน (speculation) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของปรัชญาตะวันตก โดยมีนักปรัชญากลุ่มไอโอเนียน (Ionian Philosophers) ได้แก่ ทาเลส (Thales) อะแนกซิมินิส (Anaximenes) และอะแมกซีแมนเดอร์ (Anaximander) เป็นผู้น� ำ ท� ำให้การโต้แย้งเรื่องของธรรมชาติแพร่หลายไปในหมู่นักปรัชญากรีก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=