วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ :  ผู้น� ำสตรีแห่งสยามสมัยปฏิรูป ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค ราชบัณฑิต ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ เป็นราชนารีสยามในยุคของการเปลี่ยนผ่านจากสมัย ของการปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่เข้าสู่สมัยปฏิรูปในภาวะที่สยามก� ำลังถูกคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตก อย่างรุนแรง ด้วยพระปรีชาสามารถ พระอัจฉริยภาพ พระราชวิริยอุตสาหะในการแสวงหาความรู้และ การทรงงาน รวมทั้งพระราชวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ท� ำให้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการที่ก่อให้ เกิดประโยชน์อย่างประมาณมิได้แก่ประเทศชาติและประชาชนในเชิงพัฒนาของสังคมสยาม โดยเฉพาะ การเป็นผู้น� ำในการปรับเปลี่ยนบทบาทของเด็กหญิงและสตรีสยามให้ทันยุคทันสมัยผ่านการปฏิรูปการ ศึกษาให้เป็นแบบสมัยใหม่ ในขณะที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสยามไว้ พระองค์ มีส่วนท� ำให้สยามผ่านพ้นภาวะวิกฤติไปได้อย่างงดงามด้วยความเป็นผู้น� ำสตรีแห่งสยามของพระองค์ ดังนั้น องค์การยูเนสโกจึงได้ประกาศยกย่องให้พระองค์เป็นบุคคลส� ำคัญของโลกใน พ.ศ. ๒๕๕๖ ในวาระ ครบรอบ ๑๕๐ ปีของวันพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.  ๒๕๕๗ ค� ำส� ำคัญ : สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ, ผู้น� ำสตรี, สมัยปฏิรูป ความน� ำ สตรีสยามในยุคจารีตปฏิบัติตนเป็น “ผู้ตาม” ในลักษณะที่ถูกเรียกเปรียบเปรยว่าเป็น “ช้างเท้าหลัง” ผู้ใหญ่ในครอบครัวมักไม่นิยมให้สตรีเรียนรู้อักขรวิธีด้วยเกรงกันว่าจะประพฤติการอันไม่สมควรส� ำหรับ ความเป็นกุลสตรี แม้สตรีในชนชั้นผู้ปกครอง รวมทั้งราชนารีตามประเพณีในราชส� ำนักเน้นงานการเรือน และงานฝีมือชั้นสูง หลังจากผ่านการเรียนอักขรวิธีเบื้องต้นแล้วโดยมีศูนย์กลางอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ตามส� ำนักเจ้านายฝ่ายใน ด้วยเหตุนี้ สตรีสยามในยุคนี้จึงไม่มีโอกาสก้าวขึ้นมาเท่าเทียมบุรุษในฐานะผู้น� ำ อย่างไรก็ดี ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากสมัยการปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ในรัชกาลที่ ๔ และสมัยผู้ส� ำเร็จราชการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=