วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

การร่างรั ฐธรรมนูญสหรั ฐอเมริ กา : ปัญหาและความส� ำเร็ จ 338 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ประเด็นที่ ๒ ผู้แทนมลรัฐภาคใต้กังวลเรื่องสัดส่วนของจ� ำนวนผู้แทนราษฎรจากมลรัฐภาคใต้ที่ น้อยกว่าผู้แทนจากมลรัฐภาคเหนือ จึงต้องการให้นับรวมทาสผิวด� ำเป็นประชากรของมลรัฐภาคใต้ด้วย ที่ประชุมจึงยอมประนีประนอมโดยให้คิดสัดส่วน ทาส ๑ คน = ชนผิวขาว ๓/๕ คน อย่างไรก็ตาม วิธีคิด เช่นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะรัฐสภาภายใต้ธรรมนูญแห่งสมาพันธรัฐเคยใช้สัดส่วน ๓/๕ เมื่อเรียกเก็บภาษี จากมลรัฐภาคใต้มาแล้ว ผลของการประนีประนอมประเด็นนี้ท� ำให้ผู้แทนราษฎรจากภาคใต้ครองที่นั่ง ในสภาผู้แทนราษฎรได้เกือบร้อยละ ๔๕ จากเดิมที่มีจ� ำนวนผู้แทนชาวผิวขาวประมาณร้อยละ๓๕ ๑๕ นอกจากนี้ แล้ว ที่ประชุมยังยินยอมให้มีการค้าทาสต่อไปได้จนถึง ค.ศ. ๑๘๐๗ แม้ว่าผู้น� ำคนส� ำคัญที่มีบทบาท ผลักดันให้การร่างรัฐธรรมนูญประสบความส� ำเร็จ เช่น เบนจามิน แฟรงกลิน และอะเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน จะไม่เห็นด้วยก็ตาม หลังการประนีประนอมหลักการส� ำคัญๆ ที่ท� ำให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญวางกรอบโครงสร้าง รัฐธรรมนูญได้แล้ว คณะกรรมการได้อภิปรายประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมาก เช่น ที่มาของประธานาธิบดี วิธีการเลือกประธานาธิบดี วิธีการตรวจสอบและถ่วงดุลอ� ำนาจปกครองทั้ง ๓ ฝ่าย ฯลฯ กระทั่งผู้แทน จากทุกมลรัฐเห็นพ้อง และยอมรับหลักการ ตลอดจนสาระของร่างรัฐธรรมนูญในต้นเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๗๘๗ ดังนั้น กรอบโครงร่างรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาโดยรวมจึงประกอบด้วยการประนีประนอม ดังนี้ การประนีประนอมเกี่ยวกับโครงสร้างการปกครองสหรัฐอเมริกา มีการแบ่งแยกการใช้อ� ำนาจ เป็น ๓ ส่วนคือ หลักการประชาธิปไตย (democracy) เป็นการใช้สิทธิของคนส่วนใหญ่ โดยผ่านสภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากการเลือกตั้ง หลักการอภิชนาธิปไตย (aristocracy) เป็นการใช้สิทธิของคนส่วนน้อย คือวุฒิสมาชิกและ ผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งมาจากการแต่งตั้ง หลักการเอกาธิปไตย (monocracy) เป็นการใช้อ� ำนาจของคน ๆ เดียว คือประธานาธิบดี ซึ่งเป็นประมุขและผู้บริหารสูงสุดของประเทศ อ� ำนาจทั้ง ๓ ส่วนนี้มีการก� ำหนดระบบจ� ำกัด ตรวจสอบ และถ่วงดุลระหว่างสถาบันต่าง ๆ ดังนี้ ๑. ประธานาธิบดีมีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย แต่ต้องได้รับการรับรองจากรัฐสภา ๒. ประธานาธิบดีสามารถยับยั้งร่างกฎหมายที่เสนอโดยรัฐสภาได้ แต่ถ้ารัฐสภายืนยันร่าง กฎหมายเดิมด้วยมติสนับสนุนถึง ๒ ใน ๓ ของจ� ำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้ง ๒ สภา ร่างกฎหมายนี้ก็จะมีผล บังคับใช้ได้ ๑๕ I bid., p. 43.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=