วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

335 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วงเดื อน นาราสั จจ์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ปัญหาการธ� ำรงสิทธิและความเสมอภาคของมลรัฐ  สาระที่แตกต่างของร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง ๒ ฉบับสะท้อนถึงความคิดที่อิงอยู่กับผลประโยชน์ของมลรัฐเป็นส� ำคัญ การที่มลรัฐทั้ง ๑๓ แห่ง ของสหรัฐอเมริกาแบ่งออกเป็นกลุ่มมลรัฐใหญ่และมลรัฐเล็กที่มีขนาดและโครงสร้างประชากร ตลอดจน ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่างกัน ท� ำให้ปัญหาของการธ� ำรงสิทธิและความเสมอภาคเป็นปัญหาส� ำคัญ ไม่น้อยกว่าปัญหาเรื่องโครงสร้างการปกครองที่ว่า จะให้มีรัฐบาลกลางที่มีอ� ำนาจบริหารประเทศได้เต็มที่ หรือไม่ เพียงใด และอย่างไร ประเด็นเกี่ยวกับ สิทธิของมลรัฐ  มลรัฐใหญ่ซึ่งมีประชากรจ� ำนวนมากค� ำนึงว่ามลรัฐใหญ่ควร จะมีสิทธิก� ำหนดทิศทางบริหารประเทศผ่านสภานิติบัญญัติมากกว่ามลรัฐเล็ก เพราะเสียภาษีให้รัฐบาล กลางตามจ� ำนวนของประชากรในมลรัฐ ร่างรัฐธรรมนูญของมลรัฐเวอร์จิเนียจึงก� ำหนดให้คิดสัดส่วนของ ผู้แทนราษฎรในรัฐสภาตามจ� ำนวนประชากร ในขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญของมลรัฐนิวเจอร์ซีย์เน้นประเด็นเรื่อง ความเสมอภาคของมลรัฐ โดยเน้นหลักคิดเกี่ยวกับความเสมอภาคของทุกมลรัฐในสภานิติบัญญัติเพราะ มีสถานะเป็นมลรัฐเหมือนกัน แต่ละมลรัฐจึงควรมีสิทธิออกเสียงได้ ๑ เสียงเท่ากัน แต่ฝ่ายที่สนับสนุน หลักการของมลรัฐใหญ่ไม่เห็นด้วย ความขัดแย้งทางความคิดและหลักการเรื่องสัดส่วนและจ� ำนวนผู้แทน ของมลรัฐในรัฐสภาจึงเป็นปัญหาส� ำคัญที่ท� ำให้การประชุมร่างรัฐธรรมนูญไปสู่ทางตัน หลังจากประชุมอย่าง เคร่งเครียดผ่านไป ๖ สัปดาห์ เนื่องจากผู้สนับสนุนแนวคิดของร่างรัฐธรรมนูญทั้ง ๒ ฉบับไม่พบทางออกที่ ทุกฝ่ายยอมรับได้ เบนจามิน แฟรงกลิน ซึ่งเป็นผู้อาวุโสมากที่สุดในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจึงขอให้ ทั้ง ๒ ฝ่ายยอมลดเงื่อนไขของแต่ละฝ่าย เพราะการยอมประนีประนอมผลประโยชน์ของทุกฝ่ายเป็น ทางออกที่ท� ำให้การร่างรัฐธรรมนูญประสบความส� ำเร็จ ความส� ำเร็จของการร่างรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา : การประนีประนอมของชาวอเมริกัน ความส� ำเร็จของการร่างรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาเกิดจากการยินยอมประนีประนอมเกี่ยวกับ หลักการและผลประโยชน์ของมลรัฐต่าง ๆ โดยเฉพาะการประนีประนอมครั้งยิ่งใหญ่และการประนีประนอม ระหว่างมลรัฐภาคเหนือกับมลรัฐภาคใต้ที่ท� ำให้ที่ประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญสามารถวางกรอบ โครงร่างรัฐธรรมนูญได้ส� ำเร็จ การประนีประนอมครั้งยิ่งใหญ่ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม รอเจอร์ เชอร์แมน (Roger Sherman) ผู้แทนจากมลรัฐคอนเนตทิคัต ได้เสนอแผนประนีประนอมของมลรัฐคอนเนตทิคัต (Connecticut Compromise) หรือที่เรียกกันว่า “การประนีประนอมครั้งยิ่งใหญ่” (The Great Compromise) โดยน� ำ ร่างรัฐธรรมนูญเดิมของมลรัฐใหญ่และมลรัฐเล็กทั้ง ๒ ฉบับมาศึกษาเปรียบเทียบข้อแตกต่างและเงื่อนไข

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=