วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

การร่างรั ฐธรรมนูญสหรั ฐอเมริ กา : ปัญหาและความส� ำเร็ จ 334 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะได้รับ การสนับสนุนจากจอร์จ วอชิงตัน และผู้น� ำคนส� ำคัญหลายคน แต่ก็ถูกคัดค้านโดยมลรัฐขนาดเล็กที่เห็นว่า จะสูญเสียประโยชน์หากยึดตามกรอบโครงสร้างของมลรัฐใหญ่ ดังนั้น ในวันที่ ๑๕ มิถุนายน วิลเลียม แพเตอร์สัน (William Paterson) จากมลรัฐนิวเจอร์ซีย์ จึงน� ำเสนอ ร่างรัฐธรรมนูญของมลรัฐนิวเจอร์ซีย์ (New Jersey Plan) ๑๓ หรือ “ร่างของมลรัฐเล็ก” (“small-state” plan) ซึ่งมีโครงสร้างการปกครองแตกต่างจากร่างรัฐธรรมนูญของมลรัฐใหญ่เพื่อเป็น ทางเลือกส� ำหรับที่ประชุม สาระส� ำคัญของร่างรัฐธรรมนูญของมลรัฐนิวเจอร์ซีย์ คือ ๑. ให้คงโครงสร้างการปกครองแบบเดิมของธรรมนูญแห่งสมาพันธรัฐไว้ คือ ให้มีรัฐสภาเพียง สภาเดียวและท� ำหน้าที่เป็นรัฐบาลกลาง แต่เพิ่มอ� ำนาจให้รัฐสภาสามารถบริหารประเทศได้ โดยมีอ� ำนาจ จัดเก็บภาษี และออกกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการค้าระหว่างมลรัฐ ๒. ทุกมลรัฐมีสิทธิออกเสียงลงมติในรัฐสภาเท่าเทียมกันคือ มลรัฐละ ๑ เสียง ๓. รัฐสภาสามารถเก็บภาษีจากมลรัฐตามสัดส่วนของประชากรแต่ละมลรัฐ กรณีมลรัฐที่มีทาส ให้นับสัดส่วนของประชากรทาสผิวด� ำเท่ากับ ๓ ใน ๕ ของประชากรที่เป็นเสรีชนในมลรัฐนั้น ๔. รัฐสภาเป็นผู้คัดเลือกคณะบุคคลมาปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารรัฐบาล ร่างรัฐธรรมนูญของมลรัฐนิวเจอร์ซีย์เปรียบเสมือนบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (amendment) ธรรมนูญ แห่งสมาพันธรัฐและสะท้อนแนวคิดและหลักการของมลรัฐขนาดเล็กว่ามลรัฐเล็กมีอิสรภาพและสิทธิ เท่าเทียมมลรัฐใหญ่ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนของมลรัฐต่าง ๆ รวม ๕ มลรัฐ ซึ่งมีจ� ำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของมลรัฐที่เข้าประชุม แต่ข้อเสนอดังกล่าวนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบจากมลรัฐใหญ่ เพราะหากยึดตามโครงสร้างเดิม มลรัฐใหญ่ที่มีประชากรมากกว่าและต้องเสียภาษีมากกว่าจะถูกมลรัฐเล็ก ที่มีประชากรน้อยกว่าควบคุมด้วยวิธีการออกกฎหมายบังคับผ่านสภานิติบัญญัติ ร่างรัฐธรรมนูญทั้งของมลรัฐใหญ่และมลรัฐเล็กมีจุดร่วมเหมือนกันคือเพื่อรักษาผลประโยชน์ของ มลรัฐ และเป็นเอกสารหลักส� ำหรับการพิจารณาและอภิปรายของที่ประชุมร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ อย่างไร ก็ตาม ประเด็นปัญหาส� ำคัญในการอภิปรายโต้แย้งของที่ประชุมไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะปัญหาการวาง กรอบโครงสร้างของรัฐธรรมนูญเท่านั้น หากยังรวมถึงปัญหาการธ� ำรงสิทธิและความเสมอภาคของมลรัฐ ที่มีขนาดต่างกันด้วย ๑๓ ดูรายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ใน “The New Jersey Plan, ” http://www.usconstitution.net/plan_nj.html สืบค้นเมื่อ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=