วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

333 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วงเดื อน นาราสั จจ์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ดุลอ� ำนาจของรัฐบาลกลางเพื่อป้องกันไม่ให้มลรัฐประสบปัญหาเหมือนสมัยอาณานิคมที่ถูกอังกฤษออก กฎหมายบีบบังคับ ดังนั้น ผู้เข้าประชุมจึงใช้เวลานานในการอภิปรายและโต้แย้งประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่น� ำเสนอโดยมลรัฐใหญ่และมลรัฐเล็ก เนื่องจากแต่ละมลรัฐโดยเฉพาะมลรัฐขนาดใหญ่และมลรัฐขนาด เล็กมีเป้าหมายและผลประโยชน์ต่างกัน การก� ำหนดโครงสร้างการปกครองของสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะ เป็นลักษณะใดก็ตาม ย่อมส่งผลกระทบต่อกลุ่มผลประโยชน์ของมลรัฐต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ ปัญหาส� ำคัญของ การร่างรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ค.ศ. ๑๗๘๗ จึงอยู่ที่หลักการในการวางกรอบโครงสร้างการปกครอง และวิธีการธ� ำรงสิทธิและความเสมอภาคของมลรัฐ ปัญหาการวางกรอบโครงสร้างการปกครอง วันที่ ๒๙ พฤษภาคม เอ็ดมันด์ แรนดอล์ฟ (Edmund Randolph) ซึ่งเป็นผู้ว่าการมลรัฐเวอร์จิเนียและผู้แทนของมลรัฐในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้เสนอ ร่างรัฐธรรมนูญของมลรัฐเวอร์จิเนีย (Virginia Plan) ๑๒ ซึ่งร่างโดยเจมส์ แมดิสัน เรียกกันทั่วไปว่า “ร่างของมลรัฐใหญ่” (“large-state” plan) เนื่องจากขณะนั้นเวอร์จิเนียเป็นมลรัฐที่มีประชากรมากที่สุด สาระส� ำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ การแบ่งแยกอ� ำนาจออกเป็น ๓ ฝ่ายซึ่งเป็นอิสระ สามารถตรวจ สอบและถ่วงดุลกันได้ ตามแนวคิดของมงเตสกีเออ (Montesquieu) นักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส ประกอบด้วย ๑. ฝ่ายนิติบัญญัติ มี ๒ สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทุก ๓ ปี และวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งของสมาชิกสภานิติบัญญัติของมลรัฐทุก ๗ ปี ฝ่ายนิติบัญญัติมีอ� ำนาจ ควบคุมการค้า การวินิจฉัยว่ากฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญ การเก็บภาษี การจัดตั้งกองก� ำลังติดอาวุธ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย ๒. ฝ่ายบริหารเลือก โดยสภานิติบัญญัติซึ่งสามารถถอดถอนฝ่ายบริหารได้ ๓. ฝ่ายตุลาการ มีอ� ำนาจยับยั้งกฎหมายได้ และได้รับการแต่งตั้งโดยสภานิติบัญญัติ จะเห็นได้ว่าจุดเด่นร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ การน� ำแนวคิดเรื่องการแบ่งแยกอ� ำนาจและ การตรวจสอบถ่วงดุลมาเป็นกรอบของโครงสร้างการบริหารประเทศ รวมทั้งการเสนอให้ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบสองสภา แต่การที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้อ� ำนาจแก่ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้เลือกฝ่ายบริหาร และแต่งตั้งตุลาการ ท� ำให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีอ� ำนาจมากที่สุด นับเป็นการเอื้อประโยชน์และสร้างความ ได้เปรียบแก่มลรัฐใหญ่ที่มีประชากรมาก เพราะมีผู้แทนอยู่ในรัฐสภามากกว่ามลรัฐเล็กที่มีประชากรน้อยกว่า ด้วยเหตุนี้ร่างรัฐธรรมนูญของมลรัฐเวอร์จิเนียจึงกลายเป็นประเด็นถกเถียงในการพิจารณาของ ๑๒ ดูรายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ใน “Transcript of Virginia Plan (1787),” http://www.ourdocuments.gov/doc. php?doc=7&page=transcript สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=