วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

331 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วงเดื อน นาราสั จจ์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ความคิดอยากขยายวงประชุมให้ครอบคลุมมลรัฐที่มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้น่านน�้ ำด้วยกัน เช่น เพนซิลเวเนีย (Pennsylvania) และคอนเนตทิคัต รวมทั้งการท� ำข้อตกลงเกี่ยวกับการเก็บภาษีขาเข้า เงินตรา ที่ใช้แลกเปลี่ยน และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างมลรัฐ ๙ ด้วยเหตุนี้ เจมส์ แมดิสัน (James Madison) ผู้แทนของมลรัฐเวอร์จิเนียซึ่งมีแนวคิดแบบอนุรักษนิยมที่สนับสนุนให้มีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็งและ เห็นจุดอ่อนของธรรมนูญแห่งสมาพันธรัฐจึงท� ำหนังสือเชิญผู้แทนของทั้ง ๑๓ มลรัฐไปประชุมหารือที่ เมืองแอนแนโพลิส (Annapolis) มลรัฐแมริแลนด์ เกี่ยวกับปัญหาการค้าระหว่างมลรัฐที่มีระเบียบปฏิบัติ แตกต่างกันในเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๗๘๖ ท� ำให้เกิดการประชุมที่แอนแนโพลิส (Annapolis Convention) ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๔ กันยายน ค.ศ. ๑๗๘๖ อย่างไรก็ตาม มีผู้เข้าร่วมประชุมเพียง ๑๒ คนซึ่ง เป็นผู้แทนจาก ๕ มลรัฐคือ นิวยอร์ก นิวเจอร์ซีย์ เดลาแวร์ เพนซิลเวเนีย และเวอร์จิเนีย เนื่องจาก ตัวแทนจากมลรัฐนิวแฮมเชียร์ แมสซาชูเซตส์ โรดไอแลนด์ (Rhode Island) และนอร์ทแคโรไลนา (North Carolina) เดินทางมาเข้าประชุมไม่ทัน ส่วนคอนเนตทิคัต เซาท์แคโรไลนา (South Carolina) จอร์เจีย (Georgia) และแมริแลนด์ไม่ได้ตอบสนองค� ำเชิญ การที่จ� ำนวนตัวแทนมลรัฐเข้าร่วมน้อยกว่า ๙ มลรัฐ ท� ำให้การประชุมครั้งนี้ไม่สามารถลงมติเพราะไม่อาจนับเป็นการประชุมรัฐสภา แต่ตัวแทนของมลรัฐ ที่เข้าร่วมประชุม โดยเฉพาะบุคคลส� ำคัญที่มีบทบาทต่อการร่างรัฐธรรมนูญในเวลาต่อมา คือ อะเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) จากนิวยอร์ก จอห์น ดิกคินสัน (John Dickinson) จากเดลาแวร์ และเจมส์ แมดิสัน ต่างเห็นพ้องกันว่าควรจะมีการประชุมใหญ่ที่เมืองฟิลาเดลเฟียในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๗๘๗ เกี่ยวกับผลกระทบของรัฐธรรมนูญแห่งสมาพันธรัฐต่อเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้าน การเมืองการปกครองของประเทศ จึงกล่าวได้ว่าการประชุมที่แอนแนโพลิสเป็นจุดเริ่มต้นที่น� ำไปสู่การ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การร่างรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา (The U.S. Constitution) ค.ศ. ๑๗๘๗ ๑๐ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากมลรัฐส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาเป็น ปัญหาใหญ่ส� ำหรับคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญ เพราะแม้มลรัฐต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกาต่างยอมรับข้อบกพร่อง ๙ Urwin Unger, Op. Cit ., p. 143 ๑๐ ดูรายละเอียดของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาใน “The Constitution of the United States: A Transcription,” http://www. archives.gov/exhibits/charters/constitution_transcript.html สืบค้นเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ และ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์, “Constitution of the United States: รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา,” สารานุกรมประวัติศาสตร์สากล : อเมริกา เล่ม ๒ อักษร C-D ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (แก้ไขเพิ่มเติม), (๒๕๕๘) หน้า ๑๙๘-๒๐๑.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=