วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

การร่างรั ฐธรรมนูญสหรั ฐอเมริ กา : ปัญหาและความส� ำเร็ จ 330 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ที่อ่อนแอไม่สามารถคุ้มครองประชาชนและประเทศชาติได้บางมลรัฐ เช่น นิวแฮมเชียร์ (New Hampshire) ซึ่งมีชายฝั่งทะเลยาวเพียง ๒๘.๘ กิโลเมตร (๑๘ ไมล์) จึงจัดตั้งกองทัพเรือของตนเองแทนที่จะคอยพึ่ง รัฐบาลกลาง สภาวการณ์ดังกล่าวท� ำให้ จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) ถึงกับปรารภในจดหมาย ที่เขียนถึงทอมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ว่าสหรัฐอเมริกายังสมควรจะเรียกว่าชาติหรือไม่ (…whether the United States deserved to be called a nation.) ๖ มลรัฐขาดเอกภาพ การมีรัฐบาลกลางที่อ่อนแอท� ำให้ทั้ง ๑๓ มลรัฐของสหรัฐอเมริกามีเสรีภาพและ อธิปไตยในการบริหารกิจการภายในของตนอย่างเต็มที่ เช่น การผลิตเงินตราและจัดเก็บภาษีของตนเอง แต่การที่ทุกมลรัฐต่างมุ่งรักษาผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าประโยชน์ของส่วนรวม ท� ำให้เกิดปัญหา การขาดเอกภาพซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากแต่ละมลรัฐไม่ยินยอม ประนีประนอมผลประโยชน์ของตน โดยเฉพาะเรื่องการจัดเก็บภาษีการค้าระหว่างมลรัฐและการตั้งก� ำแพง ภาษีเพื่อกีดกันการค้าและตอบโต้ซึ่งกันและกัน โดยที่รัฐบาลกลางไม่สามารถเข้าไปดูแล เช่น กรณีมลรัฐ คอนเนตทิคัต (Connecticut) ตั้งก� ำแพงภาษีส� ำหรับสินค้าส� ำเร็จรูปจากแมสซาชูเซตส์สูงกว่าสินค้าประเภท เดียวกันที่น� ำเข้าจากอังกฤษ ส่วนมลรัฐนิวยอร์กก็ตอบโต้การที่มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ (New Jersey) เรียกเก็บ ภาษีจากสินค้าต่างประเทศที่บรรทุกโดยเรือสินค้าของมลรัฐอื่นด้วยวิธีการเรียกเก็บภาษีจากสินค้าของ มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ที่ขนส่งผ่านท่าเรือของนิวยอร์ก ๗ การมุ่งรักษาผลประโยชน์ทางการค้าของแต่ละมลรัฐโดยไม่ยอมประนีประนอมกันท� ำให้เกิด อุปสรรคในการติดต่อค้าขายระหว่างมลรัฐต่าง ๆ หลายมลรัฐเริ่มตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและต้องการ หาทางออก กระทั่งเกิดกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิการเดินเรือในแม่น�้ ำโปโตแมก (Potomac) ซึ่งกั้นพรมแดน ระหว่างมลรัฐแมริแลนด์ (Maryland) กับมลรัฐเวอร์จิเนีย (Virginia) โดยมลรัฐทั้ง ๒ ต่างอ้างสิทธิในการ เก็บภาษีเรือบรรทุกสินค้าที่แล่นผ่านแม่น�้ ำดังกล่าว จอร์จ วอชิงตันจึงเชิญผู้แทนของทั้ง ๒ มลรัฐไปร่วม ประชุมหารือที่บ้านพักส่วนตัวที่เมานต์เวอร์นอน (Mount Vernon) มลรัฐเวอร์จิเนียในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๗๘๕ เกี่ยวกับการเดินเรือในแม่น�้ ำโปโตแมก ตลอดจนสิทธิการท� ำประมงและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับ การพาณิชย์ในอ่าวเชสพีก (Chesapeake Bay) ปรากฏว่าที่ประชุมสามารถก� ำหนดข้อตกลงร่วมกัน ค.ศ. ๑๗๘๕ (Compact of 1785) ที่ระบุว่า “น่านน�้ ำของทั้งสองฝ่ายเป็นเส้นทางสัญจรเสรีร่วมกันตลอดไป ส� ำหรับเรือของมลรัฐใด ๆ ที่จะใช้และเดินเรือ” ๘ ความส� ำเร็จของการประชุมครั้งนี้ท� ำให้มลรัฐแมริแลนด์มี ๖ Thomas E. Patterson, Op. Cit., p. 42 ๗ Ibid., p. 42. ๘ “The Mt. Vernon Compact & The Annapolis Convention,”

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=