วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

321 รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิ พย์ (เภกะนั นทน์) ศิ ริ วรรณบุศย์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๒. การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม คือการอบรมเลี้ยงดูที่บิดามารดามีความเข้มงวด มีการจัดระบบ การควบคุม และวางกฎเกณฑ์ให้เด็กปฏิบัติ มีการอธิบายเหตุผลน้อยมากหรือไม่มีเลย เด็กต้องยอมรับ ว่าค� ำสั่งของพ่อแม่ถูกต้องเสมอ บอมรินด์พบว่าเด็กที่ถูกอบรมเลี้ยงดูรูปแบบนี้มักจะไม่ค่อยมีความสุข ชอบหลีกหนีสังคม มีความวิตกกังวลสูงและรู้สึกไม่มั่นคง ขาดความกระตือรือร้น เด็กมีแนวโน้มปรับตน เข้ากับผู้อื่นได้ยาก ๓. การอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจ คือรูปแบบที่พ่อแม่ปล่อยให้เด็กท� ำสิ่งต่าง ๆ ตามการตัดสินใจ ของเด็กโดยไม่มีการก� ำหนดขอบเขตให้ ใช้การลงโทษน้อย ไม่เรียกร้องหรือควบคุมพฤติกรรมเด็ก เด็ก สามารถแสดงความรู้สึกและอารมณ์ได้โดยไม่มีขีดจ� ำกัด พ่อแม่มีความรักความอบอุ่นและตอบสนองความ ต้องการของเด็กเสมอ ให้โอกาสเด็กแสดงความคิดเห็นในครอบครัว พ่อแม่พยายามใช้เหตุและผลกับเด็ก บอมรินด์อธิบายว่าเด็กได้รับการอบรมเลี้ยงดูรูปแบบนี้ มักไม่มีศักยภาพตามวุฒิภาวะเพียงพอ มีความ สามารถควบคุมตนเองต�่ ำ มีลักษณะพึ่งพาผู้อื่นสูง มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ ๔. การอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง คือรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่พ่อแม่ไม่ให้ความสนใจหรือ ตอบสนองความต้องการของเด็ก ให้ความเอาใจใส่ดูแลเด็กน้อยมาก เป็นพ่อแม่ที่หมกมุ่นกับปัญหาและ ความกดดันในชีวิตส่วนตัวจนไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ลูก เพิกเฉยกับลูก ไม่วางมาตรฐานพฤติกรรมใด ๆ ให้เด็กปฏิบัติ ท� ำให้เด็กขาดวินัย อาจกลายเป็นบุคคลก้าวร้าวและมีปัญหาในสังคม อาจน� ำไปสู่การติด ยาเสพติด หรือการกระท� ำที่ผิดทางอาชญากรรมต่าง  ๆ หากปรารถนาจะให้ลูกเป็นประชากรที่ดีของประเทศในอนาคต พ่อแม่จะต้องเรียนรู้ที่จะอบรม เลี้ยงดูลูกแบบเอาใจใส่ ให้เวลาในการบ่มเพาะปลูกฝังสิ่งที่ถูกที่ควรให้แก่ลูก เมื่อเด็กก้าวออกจากครอบครัวเด็กก็ต้องเข้าสู่ระบบการศึกษาด้วยทุกฝ่ายตระหนักดีว่าการศึกษา เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพประชากรโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน รัฐบาลปัจจุบันจึงก� ำหนด นโยบายด้านการศึกษาอาจอธิบายได้โดยสังเขปดังนี้ ๑. ส่งเสริมและยกระดับการศึกษา ในทุกช่วงวัย ให้ทุกส่วนบูรณาการอย่างต่อเนื่อง ไม่แยกงาน การศึกษาจนท� ำให้ขาดแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ๒. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และระบบเทคโนโลยีทางการศึกษาสู่ความทันสมัย โดยมีเด็กและเยาวชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ๓. ปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตส� ำนึกความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เรียนรู้และภูมิใจในประวัติศาสตร์ ส� ำนึกในการตอบแทนคุณแผ่นดิน ๔. ให้ฝ่ายความมั่นคงมีโอกาสให้ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างความมีระเบียบวินัย ให้ความเข้มแข็งทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เพื่อเป็นพลังอ� ำนาจของชาติในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=