วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

การพั ฒนาเยาวชนสู่การปฏิ รูปประเทศไทย 320 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 พื้นฐานที่ต้องพัฒนาจากระบบการอบรมเลี้ยงดู พ่อแม่ต้องเลือกรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่ดี และเหมาะสม ที่สุดส� ำหรับลูกของตนเอง ๓. ความต้องการเสริมสร้างความเป็นตัวตน เด็กจะค่อย  ๆ เรียนรู้และท� ำความเข้าใจตนเอง และ สิ่งแวดล้อมของตน พ่อแม่ต้องให้โอกาสเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อ� ำนวยให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ ต่าง  ๆ ที่เด็กต้องการตามวัยและวุฒิภาวะทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่พ่อแม่ควรพิจารณาเพื่อน� ำมาประยุกต์ในการอบรมเลี้ยงดู นักจิตวิทยา หลายคนได้ศึกษาวิจัยและในที่นี้จะขอน� ำเสนอรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของไดอานา บอมรินด์ (Diana Baumrind) บอมรินด์ได้ศึกษาค้นคว้ารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเป็นระยะเวลานานกว่า ๑๐ ปี นักจิตวิทยาพัฒนาการที่ศึกษารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูไม่ว่า บอมรินด์ (1966, 1980) ดี.อาร์ เชลเลอ (D.R. Shalle) หรืออีลีเนอร์ เอ็มมอนส์ แม็กโคบี (Eleanor Emmons Mccoby) ที่อ้างอิง จากงานของบอมรินด์ได้พัฒนารูปแบบการอบรมเลี้ยงดู (Parenting Styles) เป็น ๒ มิติ ดังนี้ ตอบสนองและอบอุ่น ๑. แบบเอาใจใส่ ๓. แบบตามใจ (responsive & warm) (Authoritative) (Permissive) ไม่ตอบสนองและห่างเหิน ๒. แบบควบคุม ๔. แบบทอดทิ้ง (Unresponsive & aloof) (Authoritarian) (Uninvolved) มิติควบคุม มิติตอบสนอง ควบคุม ไม่ควบคุม (Controlling demand) Uncontrolling undemand การเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ แผนภูมิที่ ๑ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแสดง ๒ มิติ ตามหลักของบอมรินด์ บอมรินด์ อธิบายรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู ๔ รูปแบบ ดังนี้ ๑. การอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ คือการอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสมต่อพัฒนาการตามวุฒิภาวะ ของเด็ก โดยที่พ่อแม่จะอนุญาตให้เด็กมีอิสระตามวุฒิภาวะ แต่ในขณะเดียวกัน พ่อแม่จะก� ำหนดขอบเขต พฤติกรรมให้เด็กเชื่อฟังและปฏิบัติตาม บิดามารดาจะแสดงความรักเอาใจใส่และให้ความอบอุ่นกับใจเด็ก พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็น บอมรินด์ชี้ว่าเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้จะเป็นผู้รู้จักการให้และ มีความสามารถในการปรับตัวในสังคมได้ดี มีความไว้วางใจตนเองและสามารถควบคุมตนเองได้ดี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=