วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

319 รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิ พย์ (เภกะนั นทน์) ศิ ริ วรรณบุศย์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ผู้เขียนจึงขอน� ำเสนอพ่อแม่ที่เด็กต้องการดังนี้ วัยทารก (แรกเกิด-๒๔ เดือน) ในวัยนี้เด็กต้องการ ความรักความอบอุ่น ความผูกพันทางจิตใจ ทั้งจากพ่อและแม่ ใน ค.ศ. ๑๙๔๕ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ แอนนา ฟรอยด์ (Anna Freud) ธิดาของซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ได้จัดตั้งสถานเลี้ยงเด็กที่ได้ รับภัยจากสงคราม (Hampstead War Nursery) และได้น� ำเด็กที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวจ� ำนวน ๘๐ คน ซึ่งมีปัญหาด้านขาดความรักความผูกพันทางจิตใจ (attachment) จากพ่อแม่มาดูแล โดยฟรอยด์มีจุด มุ่งหมายที่จะให้การสนับสนุนแม่มาเยี่ยมเด็กให้บ่อย เพราะฟรอยด์พบว่าการขาดความผูกพันทางจิตใจ เป็นอุปสรรคส� ำคัญในพัฒนาการของเด็กทารก หากเด็กขาดความรักความอบอุ่น ความผูกพันทางจิตใจ เด็กจะเหงาซึม และมีปัญหาด้านพัฒนาการ ซึ่งต่อมา แฮร์รี ฮาร์โลว์ (Harry Harlow) นักจิตวิทยา ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความผูกพันทางจิตใจระหว่างแม่กับลูกลิง ผลการวิจัยพบว่าความผูกพันของจิตใจ ความอบอุ่นเป็นสิ่งที่ลูกลิงต้องการในการเจริญเติบโต เช่นเดียวกับในมนุษย์ ดังนั้น เพื่อตอบสนองความ ต้องการขั้นพื้นฐานของทารก แม่ควรมีลักษณะดังนี้ ๑. อ่อนโยนแต่หนักแน่น ๒. มีความรับผิดชอบในความเป็นแม่ พร้อมที่จะอุทิศเวลาในการอบรมเลี้ยงดูลูก ๓. มีจิตใจตื่นตัวในการใฝ่หาความรู้เกี่ยวกับพัฒนาเด็ก และการส่งเสริมพัฒนาการ นอกจากแม่แล้ว ทารกยังต้องการพ่อที่มีลักษณะดังนี้ ๑. พ่อที่ไม่ยกภาระการดูแลทารกทั้งหมดให้กับแม่ ยินดีที่จะให้เวลาในการให้ความรักและ ความอบอุ่นแก่ทารก ๒. พ่อที่ต้องเป็นตัวแทนของพ่อ (father figure) ให้ทารกเพศชายได้เลียนแบบ และเพื่อพัฒนา ความคุ้นเคยกับเพศชายส� ำหรับทารกเพศหญิง การฝึกทักษะบางอย่างของทารก พ่ออาจท� ำดีกว่าแม่ เช่น หัดขี่จักรยานสามล้อ หรือหัดปีนป่าย ๓. พ่ออาจแก้ปัญหาทุก  ๆ เรื่องที่ทารกและแม่แก้ไม่ได้ เป็นผู้คุ้มครองเมื่อแม่หรือทารกต้องการ เมื่อเด็กก้าวพ้นวัยทารกเข้าสู่วัยเด็กและวัยรุ่นก่อนที่จะพัฒนาขึ้นเป็นผู้ ใหญ่ที่สมบูรณ์ เด็กต้องการความสัมพันธ์ที่ดีกับพ่อและแม่ การตอบสนองความต้องการพื้นฐานของเด็กและเยาวชน พ่อและแม่อาจกระท� ำได้ดังนี้ ๑. ความต้องการทางร่างกาย เด็กต้องได้อาหารที่มีประโยชน์ และเพียงพอกับการเจริญเติบโต ตามวัยและวุฒิภาวะ พ่อแม่ต้องก� ำกับการกินของลูกให้ถูกสุขอนามัย ไม่น้อยไปหรือมากเกินไปจนเด็กเป็น โรคอ้วน ๒. ความต้องการทางจิตใจ เด็กทุกวัยต้องการความรักและความเข้าใจ พ่อแม่ต้องรับผิดชอบ ปูพื้นฐานทางเชาวน์ปัญญา อารมณ์ และบุคลิกภาพ ตลอดจนพฤติกรรมทางสังคม จริยธรรมและคุณธรรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=