วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

การพั ฒนาเยาวชนสู่การปฏิ รูปประเทศไทย 318 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ๑. ความส� ำคัญของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่กับลูก ๒. ความส� ำคัญของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสามีภรรยา ๓. ทุกครอบครัวมีหน้าที่และบทบาทหลัก ๕ ประการในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ได้แก่ ๓.๑ สอนและพัฒนาการการด� ำเนินชีวิตในสังคมทุกด้าน เชาวน์ปัญญา บุคลิกภาพ อารมณ์ และพฤติกรรมสังคม ๓.๒ สอนบทเรียนในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อสู้ชีวิต ๓.๓ พัฒนาค่านิยมในการประกอบอาชีพ ๓.๔ สอนให้ซึมซับสุนทรียภาพแห่งชีวิต และสันทนาการ ๓.๕ สอนบทเรียนทางเพศทั้งชายและหญิง ฉะนั้นด้วยครอบครัวจึงมีความส� ำคัญ และเป็นสถาบันหลักในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มี คุณภาพน� ำสู่การปฏิรูปประเทศ หากครอบครัวไม่เข้มแข็งไม่สามารถพัฒนาเยาวชนที่มีคุณภาพได้การ ปฏิรูปประเทศจะเกิดขึ้นได้ยาก สิ่งส� ำคัญที่สุดที่คู่สมรสที่จะเป็นพ่อแม่เด็กต้องเรียนรู้คือ การศึกษาเพื่อการ เป็นพ่อแม่ (parent education) พ่อแม่เป็นจ� ำนวนมากไม่มีความรู้ในการเป็นพ่อแม่ที่ดีว่าควรท� ำเช่นใด รอเบิร์ต ริชาร์ดสัน เซียร์ส (Robert Richardson Sears) กล่าวว่า “พ่อแม่ทุกคนจะสามารถเลี้ยงดูลูก ได้ดีกว่านี้ถ้าพ่อแม่รู้ว่าจะต้องเลี้ยงอย่างไร (every parent could do better, if he knew better)” เซียร์สเน้นอิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีต่อพัฒนาการบุคลิกภาพที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ทุกวันนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ว่าจะเลี้ยงลูกอย่างไร จะดีที่สุด หากได้มีการค้นหารูปแบบการอบรม เลี้ยงดูที่ถูกต้องส� ำหรับเยาวชนไทยและให้โอกาสพ่อแม่ได้ศึกษาเรียนรู้ พ่อแม่ก็จะสามารถเลี้ยงดูลูกได้ดีขึ้น รัฐต้องให้ความส� ำคัญและเร่งจัดบริการให้ความรู้กับผู้ที่จะเป็นพ่อแม่ทุกคนตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์ ข้อกฎหมาย ควรก� ำหนดให้มีการฝากครรภ์ตั้งแต่เดือนแรกที่รู้ว่าตั้งครรภ์ และมิใช่ให้การศึกษาเฉพาะแม่ แต่ต้องให้พ่อ เข้ามามีส่วนร่วมรับการศึกษาส� ำหรับพ่อแม่ด้วย แม้พ่อจะมิใช่ผู้ตั้งครรภ์แต่ต้องมีความรับผิดชอบตั้งแต่การ ดูแลครรภ์ของแม่ การให้ก� ำเนิดและการเลี้ยงดูลูกจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ในสังคมไทยคนส่วนใหญ่จะเหมาคิดว่า การอบรมเลี้ยงดูลูกเป็นหน้าที่ของแม่เพียงล� ำพัง แต่เด็ก ทุกคนต้องการทั้งพ่อและแม่ นอกจากความจ� ำเป็นที่เกิดในครอบครัวเลี้ยง บทบาทของพ่อแม่ส� ำหรับ เด็กแต่ละวัยนั้นแตกต่างกัน ตัวอย่างพ่อแม่ที่ดีหรือพ่อแม่ที่ลูกต้องการเพื่อการพัฒนาจิตใจงดงามและ คุณภาพชีวิตกับลูกนั้น ควรมีลักษณะเช่นไร ในวัยเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง ๖ ปี ซึ่งเป็นช่วงส� ำคัญในชีวิต ในการพัฒนาบุคลิกภาพลักษณะนิสัยและเชาวน์ปัญญาของเด็ก ส่วนมากพ่อแม่มักจะค� ำนึงถึงแต่ว่า พ่อแม่ต้องการให้ลูกเป็นอย่างไร เช่น เชื่อฟัง ว่าง่าย ขยัน แต่พอแม่จะไม่ถามลูกว่าต้องการพ่อแม่แบบไหน หรือต้องการให้พ่อแม่เป็นเช่นไร

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=