วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
317 รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิ พย์ (เภกะนั นทน์) ศิ ริ วรรณบุศย์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ จ� ำนวนค่านิยม (หนึ่งขีดคือ หนึ่งค่านิยม) ๑. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ๑ ๒. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม ๔ ๓. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ๑ ๔. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม ๑ ๕. รักษาวัฒนธรรมและประเพณีอันงดงาม ๑ ๖. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน ๓ ๗. เข้าใจเรียนรู้การประเมินประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๑ ที่ถูกต้อง ๘. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ ๓ ๙. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ท� ำ รู้ปฏิบัติตามพระราชด� ำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๓ ๑๐. รู้จักด� ำรงตนอยู่โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชด� ำรัสของ ๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้ยามจ� ำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่าย จ� ำหน่ายและพร้อมที่จะขยายกิจการ เมื่อมีความพร้อม มีภูมิคุ้มกันที่ดี ๑๑. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออ� ำนาจฝ่ายต�่ ำ หรือกิเลส ๑ มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป ตามหลักศาสนา ๑๒. ค� ำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมและของชาติมากแห่งผลประโยชน์ของตนเอง ๑ ตามที่กล่าวมาเบื้องต้นคือ สิ่งที่คาดหวังจะให้เยาวชนพัฒนาไปสู่เป้าหมาย แต่จะเกิดขึ้นได้อย่างไร คุณลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกพัฒนาและปลูกฝังจากสถาบันหลักเมื่อชีวิตเริ่มอุบัติขึ้น คือครอบครัวนั่นเอง ครอบครัว ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ คือสถาบันพื้นฐาน ของสังคมที่ประกอบด้วย สามีภรรยา และหมายรวมถึงลูกด้วย ในความหมายของนักจิตวิทยาครอบครัว ครอบครัวคือสถาบันทางสังคมแห่งแรกที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความสัมพันธ์ของสมาชิกที่มีต่อกันเพื่อเป็น ตัวแทนของสถาบันสังคมภายนอกในการปลูกฝังความเชื่อ ค่านิยม และเจตคติแก่สมาชิกรุ่นใหม่ของสังคม ที่อุบัติขึ้นในครอบครัว ครอบครัวมีวิวัฒนาการหลายรูปแบบ แต่ทุกรูปแบบให้ความส� ำคัญต่อสมาชิก ครอบครัวในประเด็นต่อไปนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=