วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

การพั ฒนาเยาวชนสู่การปฏิ รูปประเทศไทย 316 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ และคณะ (๒๕๔๕) ได้แบ่งพฤติกรรมคนไทยที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ ไว้ ๕ ด้าน คือ ๑. พฤติกรรมทางสังคม คือพฤติกรรมทางบวกที่แสดงต่อผู้อื่น ๒. พฤติกรรมส่วนบุคคล คือพฤติกรรมพัฒนาการและส่งเสริมจิตใจตนเอง ๓. พฤติกรรมต่อสภาพแวดล้อม คือพฤติกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ๔. พฤติกรรมทางการเมือง ได้แก่ พฤติกรรมประชาธิปไตย พฤติกรรมรับผิดชอบทางการเมือง ตั้งแต่จริยธรรมในการเลือกตั้ง ถึงการติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมือง ๕. พฤติกรรมทางเศรษฐกิจ ได้แก่ พฤติกรรมการหารายได้ และพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ดี การประหยัดและอดออม ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ (๒๕๕๕-๒๕๕๙) มีวิสัยทัศน์ว่า “สังคมอยู่ ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาคเป็นธรรมและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” โดยระบุพันธกิจ ดังนี้ ๑. สร้างสังคมที่เป็นธรรมและเป็นสังคมที่มีคุณธรรม ๒. พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะการด� ำรงชีวิตอย่างเหมาะสม นับแต่ละช่วงวัย สถาบันทางสังคม มีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวรู้เท่ากับการเปลี่ยนแปลง ๓. พัฒนาฐานการผลิตและบริการให้เข้มแข็งและมีคุณภาพบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และมีภูมิปัญญา สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ปรับโครงสร้างการผลิตและบริโภคให้เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมพร้อมสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ๔. สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของ ชุมชน รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือทางสังคม ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ นี้กล่าวถึงการพัฒนาคนไทย คือการให้คน ไทยได้มีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีสุขภาวะที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรมและสถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็ง แต่หากชี้วัดกลับเป็นจ� ำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทย เพิ่มสัดส่วนประชากรที่เข้าใจ โครงข่ายคมนาคม และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แต่มิได้มีการกล่าวถึงการพัฒนาเชาวน์ปัญญา หรือสุขภาวะทางกาย อารมณ์ และพฤติกรรมสังคมของเด็กและเยาวชนไทย นอกเหนือจากนโยบาย คสช. และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ แล้วรัฐบาลปัจจุบันยังเน้นการพัฒนาค่านิยม ๑๒ ข้อ ซึ่งมีค่านิยมรวมทั้งสิ้นจาก มุมมองของผู้เขียน ๒๒ ประการ ได้แก่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=