วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

315 รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิ พย์ (เภกะนั นทน์) ศิ ริ วรรณบุศย์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ “ความสุจริตเป็นระเบียบ” ประกอบด้วย ความสุจริตเป็นระเบียบในความประพฤติหรือ ความสุจริตเป็นระเบียบในความส� ำนึก หรือทางในใจ อีกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๒ ประการต่างอาศัยเกื้อกูลกัน อยู่ตลอดเวลา จึงจ� ำเป็นต้องอบรมบ� ำรุง ให้เจริญมั่นคงขึ้นด้วยกัน เมื่อจัดระเบียบในการกระท� ำและ ในความคิดนึกได้เที่ยงตรงแน่นอนแล้ว ปัญญาหรือความรู้เข้าใจกันถูกต้องถ่องแท้ตรงจุด ก็จะเกิดขึ้น “ความกตัญญูกตเวที” เป็นคุณสมบัติหนึ่งของบุคคลที่เป็นคนดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกล่าวถึงในพระบรมราโชวาทในโอกาสต่าง ๆ ได้ทรงให้ความหมาย ความกตัญญูกตเวทีว่า “สภาพจิตที่ได้รับความดี และไม่ลบหลู่ผู้ท� ำความดีมาก่อน หากเพียรพยายามรักษาความดีทั้งปวงให้เป็น พื้นฐานในความประพฤติปฏิบัติทุกอย่างของตนเอง คนที่มีความกตัญญู เมื่อเต็มใจและจงใจกระท� ำทุกสิ่ง ทุกอย่างด้วยความดีดังนี้ ก็ย่อมมีแต่ความเจริญมั่นคงและรุ่งเรืองก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น” พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงสรุปว่า “ความกตัญญูกตเวที เป็นคุณสมบัติอันส� ำคัญยิ่งส� ำหรับนักพัฒนาและ ผู้ปรารถนาความเจริญก้าวหน้าทุกคน” (เมษายน ๒๕๒๖) ๘. การมีวินัยในการด� ำเนินชีวิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทในโอกาสที่ย�้ ำความส� ำคัญของ การมีวินัย การก� ำหนดวินัยที่ดีให้แก่ตนเอง ก็คือ “การข่มใจบังคับตนเอง” ให้มีระเบียบ ให้อยู่ในกรอบ ข้อบังคับของกฎเกณฑ์ที่ก� ำหนดขึ้น หรือให้มีพฤติกรรมที่จ� ำเป็นส� ำหรับกิจการนั้น ๆ ทรงมีพระราชด� ำรัส ว่า “ถ้าหากขาดวินัย ก็อาจปล่อยตัวปล่อยใจให้เป็นไปตามสะดวกสบาย ท� ำให้สูญเสียประโยชน์ที่พึง จะได้ไปเปล่า ๆ เท่ากับได้เบียดเบียนท� ำลายตนเองและท� ำลายผู้อื่นให้เสียหายด้วยอย่างน่าต� ำหนิที่สุด” การมีวินัยของบุคคลจะท� ำให้บุคคลผู้นั้น ใช้วินัยบังคับ “ให้ท� ำความดีความเจริญให้แก่ตน และเผื่อแผ่ ความดีความเจริญนั้นแก่ผู้อื่นพร้อมกันไปด้วย” (๒๐ ธันวาคม ๒๕๒๐) การมีวินัยเป็นสิ่งจ� ำเป็นยิ่งส� ำหรับสังคมไทยในปัจจุบันซึ่งมักจะเน้นย�้ ำอิสรภาพและเสรีภาพ ในการแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ อันเป็นผลจากอิทธิพลของอารยธรรมโลกตะวันตก พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระบรมราโชวาทว่า การใช้เสรีภาพของตนเองโดยไม่ละเมิดเสรีภาพของ ผู้อื่น และสวัสดิภาพและความปกติสุขของส่วนรวม จะบังเกิดขึ้นได้โดยการฝึกให้มีวินัยประจ� ำตัวนั่นเอง พระองค์ทรงให้ข้อคิดว่า “ยิ่งมีอิสรภาพมากขึ้นเท่าใด ก็ต้องมีการข่มใจ บังคับใจมากขึ้นเท่านั้น” และทรง ด� ำรัสว่า “อิสรภาพกับวินัยซึ่งดูเผิน ๆ เหมือนเป็นสิ่งตรงกันข้ามนั้น แท้จริงเป็นของคู่กัน ทั้งจ� ำเป็นต้องใช้ ควบคู่กัน เพื่อให้ควบคุมกันอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะหวังผลที่ดีอันพึงประสงค์ไม่ได้เลย” (๒๐ ธันวาคม ๒๕๒๐) นอกจากคุณลักษณะที่ดีด้านคุณสมบัติเชิงพุทธธรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน แล้วนั้น ยังมีแนวคิดเกี่ยวกับคุณสมบัติที่ดีของคนไทยอีกมากจากนักวิชาการและหน่วยงานของรัฐ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=