วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
การพั ฒนาเยาวชนสู่การปฏิ รูปประเทศไทย 314 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวย�้ ำเสมอทุกครั้งที่พระองค์ทรงมีโอกาส ทั้งนี้เพราะว่า พระเจ้าอยู่หัว ทรงเชื่อว่า “ความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน เป็นพื้นฐานที่ส� ำคัญยิ่งในการปฏิบัติบริหารงานใหญ่ ๆ เช่นงานของแผ่นดิน” (๑๐-๑๑ เมษายน ๒๕๒๕) พระราชด� ำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่สามัคคีสมาคมในพระบรม ราชูปถัมภ์ในการเปิดประชุมประจ� ำปี ๒๕๒๕ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๑ เมษายน ๒๕๒๕ ที่อัญเชิญมาข้างล่าง นี้ ได้กล่าวถึงคุณธรรมพื้นฐานของความสามัคคีอย่างชัดเจน “ความสามัคคีพร้อมเพรียงกันเป็นพื้นฐานที่ส� ำคัญยิ่งในการปฏิบัติบริหารงานใหญ่ ๆ เช่น งานของแผ่นดิน และความสามัคคีนี้จะเกิดขึ้นมั่นคงได้ ก็ด้วยบุคคลในหมู่ในคณะ มีคุณธรรมเป็นเครื่อง ยึดเหนี่ยวผูกพันจิตใจของกันและกันไว้ คุณธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจนั้นประการหนึ่ง ได้แก่การให้ คือ ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือกันให้อภัยไม่ถือโทษกัน ให้ค� ำแนะน� ำตักเตือนที่ดีต่อกัน ประการที่สอง ได้แก่ การมีวาจาที่ดี คือพูดค� ำสัจจะ ค� ำจริงต่อกัน พูดให้ก� ำลังใจกัน พูดแนะน� ำประโยชน์แก่กัน และพูดให้ รักใคร่ปรองดองกัน ประการที่สาม ได้แก่ ท� ำประโยชน์ให้แก่กัน คือประพฤติปฏิบัติตนให้เกิดประโยชน์เกื้อกูล ทั้งแก่กันและกัน และแก่หมู่คณะโดยส่วนรวม ประการที่สี่ ได้แก่ การวางตนได้สม�่ ำเสมออย่างเหมาะสม คือไม่ท� ำตัวให้ดีเด่นเกินกว่ากัน ร่วมมือด้วยหรือไม่ก็ตาม ผลดีที่ท� ำจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน และยิ่งท� ำ มากเข้านานเข้า ยั่งยืนเข้า ผลดีก็จะเพิ่มพูนขึ้น และแผ่ขยายกว้างออกไปทุกที คนที่ไม่เคยท� ำดีเพราะเขา ไม่เคยเห็นผลก็จะได้เห็น และหันเข้ามาตามอย่างหลักประกันส� ำคัญในการท� ำความดี จึงอยู่ที่ว่า แต่ละคน ต้องท� ำใจให้มั่นคง ไม่หวั่นไหวกับสิ่งแวดล้อมที่เห็นอยู่ทราบอยู่ มากเกินไปจนเกิดความท้อถอย เมื่อใจ มั่นคงแล้ว ก็ขอให้ตั้งอกตั้งใจสร้างนิมิตและค่าหน้า ปฏิบัติด� ำเนินไปให้เต็มก� ำลังจนบรรลุผลส� ำเร็จ ในที่สุด ความดีความเจริญที่ปรารถนา ก็จะเกิดทวีขึ้น และจะเอาชนะความเสื่อมทรามต่าง ๆ ได้ไม่นาน เกินรอ” (๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๑) ๗. ความสุจริต การเป็นผู้ที่มีการประพฤติดีประพฤติชอบ กล่าวในเชิงสรุป ก็คือ การเป็นผู้สุจริต ซื่อสัตย์ และซื่อตรงในการด� ำรงชีวิต ดังนั้น การท� ำมาหากินเลี้ยงชีพต้องท� ำอย่างสุจริต คือการไม่โกง ไม่เอาเปรียบผู้อื่นอย่างผิด กฎหมาย และศีลธรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีทัศนะว่า การมีความสุจริตในลักษณะเช่นนี้ จัดได้ว่าเป็นความดีของบุคคลที่ควรได้รับสนับสนุน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้ในพระบรมราโชวาท “ความสุจริตเป็น ระเบียบ” และ “เป็นพื้นฐานและส่งเสริมให้เกิดความสามารถที่มาให้รูปของ “ความฉลาดไตร่ตรองให้ ถูกต้องพอเหมาะกับเหตุผลและจุดประสงค์” (๑๐ กันยายน ๒๕๒๔)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=