วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

313 รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิ พย์ (เภกะนั นทน์) ศิ ริ วรรณบุศย์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ให้แก่ข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชด� ำรัสว่า ความเป็นธรรมคือความดี คิดให้ถูกต้องตามหลักเหตุผล ถ้ามีอย่างนี้แล้ว เข้าใจว่าปลอดภัยในการปฏิบัติ ถ้าท� ำอะไรด้วยความเป็นธรรม ซึ่งจะตีความหมายว่าด้วยความมีเหตุผล ถูกหลักของวิชาการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาท ความว่า “ถ้าคนเรา มีความยุติธรรมในใจแล้ว สามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้ทุกอย่างที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมและประโยชน์ แก่ตนเอง เพราะว่าความยุติธรรมนี้ก็คือมีความคิดที่มีเหตุผล” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๖) ดังนั้น การมีความยุติธรรมหรือการมีความถูกต้องยุติธรรมก็คือ “การที่มีจิตใจที่เป็นธรรม” หรือ “ความยุติธรรมในใจ” นั้นเอง ๕. มีความเมตตาและความเสียสละ ความเมตตาตามแนวพระราชด� ำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ “มีเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน” (๑๐ กันยายน ๒๕๑๒) คุณธรรมนี้เมื่อมีในตัวบุคคลแล้ว ย่อมท� ำให้เกิดการเกื้อกูลกันและกัน การช่วยเหลือกันและกัน พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ย�้ ำถึงคุณภาพของการให้ความช่วยเหลือที่อัญเชิญมา มีดังนี้ “การช่วยเหลือให้เขาได้รับสิ่งที่เขาควรได้รับตามความจ� ำเป็นอย่างเหมาะสม จะเป็น การช่วยเหลือที่ได้ผลดีที่สุด เพราะฉะนั้นในการช่วยเหลือแต่ละครั้งแต่ละกรณีจ� ำเป็นที่เราจะพิจารณา ถึงความต้องการและความจ� ำเป็นก่อน และต้องท� ำความเข้าใจกับผู้ที่ช่วยให้เข้าใจด้วยว่า เขาอยู่ฐานะ อย่างไร สมควรที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างไร เพียงใด อีกประการหนึ่ง ในการช่วยเหลือนั้น ควรจะยึด หลักส� ำคัญว่า เราจะช่วยเขาเพื่อให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป... (๖ เมษายน ๒๕๑๒) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชด� ำริว่าการช่วยเหลือไม่ควรเป็นการช่วยเหลือ ที่ท� ำให้เกิดการพึ่งพากันอย่างถาวร การให้ความช่วยเหลือกันและกันสื่อถึงการเสียสละเพื่อผู้อื่นทั้งในรูป ของการเสียสละสิ่งของเงินทองตลอดจนก� ำลังกายและก� ำลังสมอง คุณลักษณะของการเสียสละคล้ายคลึง กับการให้ กล่าวคือ การเสียสละด้วยความตั้งใจจริง จะท� ำให้จิตใจผ่องใสนอกจากนี้ การเสียสละในรูป ของการบริจาคการให้ทานนั้น จะตัดความโลภของตัวเองไปได้มากขึ้น ดังนั้นการเสียสละให้ผู้อื่นด้วย จิตเมตตา จึงเป็นคุณธรรมที่ส� ำคัญส� ำหรับบุคคล ท� ำให้ไม่มีการเบียดเบียนผู้อื่นและไม่เอารัดเอาเปรียบ ผู้อื่น จัดเป็นการแสดงออกซึ่งธรรมในจิตใจของบุคคลนั้น ๖. ความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน การช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันย่อมเป็นพื้นฐานส� ำหรับการสร้างการปลูกฝังความสามัคคีให้ บังเกิดขึ้นกับกลุ่มบุคคล ชุมชน และประเทศชาติ ความสามัคคีกลมเกลียวกันเป็นคุณธรรมหนึ่ง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=