วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

21 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๔๓ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, ผ้าทอลายขิด. (กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม, ม.ป.ป.), หน้า ๓. นอกจากนี้ยังทรงแนะน� ำเกี่ยวกับลักษณะของลายและสีซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด และเหมาะแก่การตัดเย็บเสื้อผ้า ได้แก่ ลายเล็ก ๆ และสีสันที่ไม่ฉูดฉาด ผ้าไหมขิด ลายเดิมมีหลายลาย ทั้งดอกไม้ พันธุ์ไม้ สัตว์ สิ่งของ บางลายใหญ่เกินไป เช่น ลายช้าง ลายปราสาท ไม่เหมาะแก่การตัดเสื้อผ้าซึ่งนิยมใช้เฉพาะลายเล็ก เช่น ดอกไม้ ทรงส่งเสริมให้ เสาะหาลายเก่ามาทอผ้าขิด เช่น ลายดอกแก้ว ลายดอกมะลิ ลายดอกจัน ลายดอกพิกุล ซึ่งเป็นลายดั้งเดิม ที่ท� ำกันมาช้านานแล้ว ที่มีการทอลายเหล่านี้ขึ้นมาเพราะผู้แก่ผู้เฒ่าชาวอีสานในสมัยนั้นมีจินตนาการว่า ดอกแก้วเป็นดอกไม้ที่แสดงถึงความดี ด้วยมีกลิ่นหอม ๔๓ ชาวบ้านจึงไปหาลายต่าง ๆ จากหมอนที่ไปถวาย วัดเพื่อน� ำมาเป็นแบบ ผ้าไหมแพรวา เดิมมีเพียงสีแดงเป็นสียืนพื้นเท่านั้น เมื่อทรงส่งเสริมการทอแพรวา จนเป็นที่นิยมของประชาชน จึงเกิดความต้องการผ้าไหมแพรวาสีอื่น ๆ ด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถจึงทรงอนุโลมให้ทอผ้าไหมแพรวาสีต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเพื่อชาวบ้านจะได้มีรายได้มากขึ้น แต่ก็ยังทรงอนุรักษ์และส่งเสริมผ้าไหมแพรวาสีแดงซึ่งเป็นสีดั้งเดิมของชาวผู้ไทอยู่ นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้ขยายฟืมส� ำหรับการทอผ้าเหล่านี้ เพื่อให้ได้ผืนผ้า ขนาดใหญ่ขึ้น เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น รวมทั้งการย้อมสีที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นด้วยดังกล่าวมาแล้ว สรุป สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงฟื้นฟูศิลปะการทอผ้าของอีสานซึ่งเคยเลื่องชื่อ มาแต่เดิม แต่ก่อนหน้าที่จะทรงส่งเสริมนั้น หัตถกรรมทอผ้าก� ำลังสูญหายไปจากชนบทของอีสาน เนื่องจากความนิยมผ้าทอจากโรงงานอุตสาหกรรมภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ พระราชกรณียกิจในเรื่อง ดังกล่าว รวมถึงการพระราชทานก� ำลังใจแก่ช่างฝีมือและสมาชิกของกลุ่มทอผ้า การทรงแนะน� ำให้ปรับปรุง คุณภาพของผ้าทอเหล่านี้ ตลอดจนการส่งเสริมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและด้านการตลาด เป็นปัจจัยส� ำคัญที่ ท� ำให้ชาวอีสานสามารถรักษาศิลปะการทอผ้าอันน่าภาคภูมิใจไว้ได้ ขณะเดียวกัน ศิลปะการทอผ้าก็กลาย เป็นอาชีพเสริมที่เพิ่มพูนรายได้ให้แก่ชาวชนบทผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ช่วยแก้ปัญหาการด� ำรงชีพ ของพวกเขาเหล่านั้นได้ โดยมีพระราชด� ำริส่งเสริมให้มีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวอีสาน หรือ ปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของพวกเขา เพื่อสร้างความผูกพันและความภาคภูมิใจในการประดิษฐ์ ศิลปหัตถกรรมทอผ้า พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการท� ำนุบ� ำรุง ศิลปหัตถกรรมทอผ้าอีสานมีลักษณะเป็นทั้งการอนุรักษ์และการพัฒนา อันส่งผลให้ศิลปหัตถกรรมทอผ้า สามารถด� ำรงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวอีสานและของชาติสืบต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=