วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
ปฏิ รูปครุศึ กษาไทย : ลอง “พยายามใหม่” ดูอี กที 304 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 สัตตวิธีของการสอนเพื่อสอนให้ผู้เรียนสอนตนเองได้ต่อไปประกอบด้วยกระบวนการและ ขั้นตอน ๗ ประการต่อไปนี้ ๑. สอนให้เขาก� ำหนดจุดมุ่งหมายได้เอง ให้รู้ว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร ๒. สอนให้เขาหาความรู้ได้เอง ว่าควรหาที่ไหน อย่างไร ๓. สอนให้เขาคัดกรองความรู้ได้เอง ด้วยเหตุผล ข้อมูล หลักการต่าง ๆ ๔. สอนให้เขาสรุปองค์ความรู้ได้เองด้วยการสอนขั้นตอนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการสรุป องค์ความรู้ ๕. สอนให้เขาตกผลึกในความรู้นั้นด้วยการให้เขาได้เข้าใจการวิเคราะห์ ตีความ และการประเมิน ๖. สอนให้เขาประยุกต์ความรู้เป็น รู้ว่าจะน� ำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ๗. สอนให้เขาประเมินการสอนได้ด้วยวิธีการและขั้นตอนต่าง ๆ ตามหลักการประเมิน ทักษะการสอนทั้ง ๗ ประการนี้ เป็นสิ่งที่ครูผู้สอนในอนาคตไม่ว่าจะสอนในระดับพื้นฐานหรือ ระดับอุดมศึกษาจะต้องพัฒนาขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนที่ ๗ ข้อสรุปข้อฝาก ไม่ว่าจะดูงานวิจัยหรือดูจากประสบการณ์ของผู้อยู่ในวงการศึกษาไทยเห็นได้ชัดเจนว่าความส� ำเร็จ ของผู้เรียนอยู่ที่คุณภาพและการด� ำเนินงานของครู หากครูได้รับการผลิตและพัฒนามาอย่างดีก็จะน� ำไปสู่ ความส� ำเร็จของผู้เรียนได้ดีตามไปด้วย แต่ในปัจจุบันเห็นชัดเจนว่าครูที่ผลิตออกมาและได้รับการพัฒนาในรูปแบบปัจจุบันยังไม่สร้างครู ให้เปลี่ยนไปจากเดิมได้ โดยสถาบันครุศึกษายังจัดระบบการสอนในรูปแบบเดิมคือ ครูยังผูกขาดเนื้อหา และการสอนอยู่จนกว่าชั้นเรียนของครุศึกษาจะเป็นชั้นเรียนที่มีความเป็นอิสระ มีความคิดสร้างสรรค์ นั่นแหละการครุศึกษาจึงจะมีประโยชน์อย่างแท้จริง การที่จะให้วิชาชีพครูมีความคิดสร้างสรรค์และมีความเป็นอิสระนั้นมีผู้คิดและพยายามมาตลอด เพียงแต่เราไม่ได้ลงมือท� ำอย่างจริงจังด้วยความไม่แน่ใจว่าเราจะท� ำได้ เราต้องลองพยายามอีกครั้ง เพราะสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปมากแล้ว.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=