วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

301 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.ไพฑูรย์ สิ นลารั ตน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ เด็กได้เขียนหรือเล่ากรณีของตนเองขึ้นมาก็จะท� ำให้เด็กเรียนรู้ได้ด้วย เมื่อศึกษากรณีศึกษาแล้วก็จะตั้ง ค� ำถามจากกรณีนั้น แล้วให้ผู้เรียนแสวงหาค� ำตอบ การเรียนรู้ของผู้เรียนก็จะเกิดตามมา ในการหาความรู้ นั้นควรให้เด็กท� ำเป็นกลุ่มเพื่อฝึกการท� ำงานร่วมกันไปด้วย ๓) การสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน หลักคิดของการสอนแบบนี้ก็คือ การใช้การวิจัยเป็นกระบวนการ เรียนรู้นั่นเอง โดยอาจเริ่มต้นด้วยการก� ำหนดโจทย์หรือปัญหาขึ้น แล้วเราก็หาวิธีที่จะแก้ปัญหานั้นก็คือ การวิจัยนั่นเอง ในการหาค� ำตอบหรือตอบโจทย์วิจัยนั้น ผู้เรียนอาจตอบโดยหาความรู้จากหนังสือก็ได้ แต่ถ้าเป็นการวิจัยที่ดีและสมบูรณ์แบบต้องให้ผู้ไปด� ำเนินการวิจัยโดยตรงเลย เขาจึงจะได้สัมผัสรับรู้ และเห็นคุณค่าของทางการวิจัย ๔) การสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน การสอนในแนวนี้ก็มีลักษณะคล้ายคลึงการวิจัยคือ แทนที่ จะตั้งโจทย์วิจัยก็เป็นการท� ำโครงการร่วมกันไปเลยหรือเป็นการเรียนรู้ทั้งโครงการ เราจะท� ำโครงการอะไร แล้วเราจะท� ำโครงการนั้นอย่างไร ซึ่งอาจเป็นโครงการเล็ก ๆ ก่อนแล้วค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นต่อไป ๕) การสอนโดยใช้ผลผลิตเป็นฐาน การสอนแบบนี้เน้นที่ผลผลิตหรือผลิตผล (product) เป็น เป้าหมายของการสอนนั้นก็คือในการเรียนการสอนหรือการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราต้องวางเป้าหมาย ไว้ว่าวิชานี้จะให้ผู้เรียนก� ำหนดโครงการของตนเองหรือของกลุ่มกันเอง ผลส� ำเร็จหรือเป้าหมายของ การสอนในแนวนี้ต้องมีผลงานเสนอ ๖) การสอนโดยใช้การท� ำงานเป็นฐาน แนวคิดนี้ก็คือการให้ผู้เรียนได้ลงมือท� ำงานหรือปฏิบัติ จริง ลงมือท� ำจริงในสิ่งที่เรียนหรือในสิ่งที่อยากรู้ด้วยนั้น ซึ่งอาจท� ำไปทีละขั้นตอนก่อน หรือถ้าพร้อมก็ ปฏิบัติงานไปพร้อมกับการเรียนรู้ เหมือนการศึกษาของไทยสมัยก่อนที่การศึกษาแบบใหม่จะเข้ามาก็เรียนรู้ จากการท� ำงานจริงเป็นหลักก่อน เมื่อการศึกษาแบบใหม่เข้ามาแล้วการศึกษาเรียนรู้ของเราก็เรียน จากต� ำราเป็นหลัก การท� ำงานจึงเป็นส่วนน้อยไป ๗) เรียนรู้โดยใช้การตกผลึกเป็นฐาน การเรียนรู้ในแนวนี้เน้นที่การได้ลงมือปฏิบัติหรือจัดท� ำ ผลงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปถ้าเราเรียนในสถานศึกษาเรามักใช้งานเขียนหรือรายงานเป็นผล งานของผู้เรียนที่เขียนขึ้นแล้วให้เพื่อนรวมถึงอาจารย์ผู้สอนด้วย ช่วยวิเคราะห์วิจารณ์เมื่อวิจารณ์แล้ว ผู้สร้างงานนั้นก็ต้องไปคิดไปวิเคราะห์ ไปท� ำความเข้าใจกับงานของตนเองอย่างวิเคราะห์แล้วเขียนขึ้นใหม่ แล้วมาให้วิจารณ์กันใหม่ ซึ่งอาจต้องท� ำหลายครั้ง (๓-๔ ครั้ง) จึงจะท� ำให้ผู้เรียนมีความชัดเจนตกผลึก ในงานที่ท� ำได้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=