วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
ปฏิ รูปครุศึ กษาไทย : ลอง “พยายามใหม่” ดูอี กที 298 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 การด� ำเนินนโยบายในข้อนี้อาจจะยุ่งยากและล� ำบากเพราะครูอาจพอใจกับการสอนบรรยาย เพราะมีความเคยชินกับการบรรยาย เด็กก็ชอบเพราะไม่ต้องท� ำงานมาก แต่ประสิทธิภาพการเรียนรู้ มีน้อยมากเด็กได้แต่จด ท่อง และจ� ำไปเท่านั้น ผู้บริหารต้องท� ำและแนะน� ำทางเลือกใหม่ ๆ ให้ครู เป็นตัวอย่างให้มาก ๕. ตั้งความหวังให้สูงไว้ ในการก� ำหนดมาตรฐานวิชาชีพของครูนั้น คุรุสภาเป็นหน่วยด� ำเนิน การแต่ที่สังเกตดูเป็นมาตรฐานขั้นต�่ ำเป็นหลัก เราน่าจะก� ำหนดมาตรฐานในลักษณะของมาตรฐานขั้นสูง ไว้ด้วย ในขณะเดียวกันผู้เขียนก็อยากเสนอว่า น่าจะได้ถึงเวลาแล้วที่เราจะก� ำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูของ อาเซียนกันอย่างจริงจังได้แล้วด้วย ๖. ท� ำการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ท� ำการวิจัยโดยใช้ต้มย� ำกุ้งโมเดล (TomYam Kung-ization) ผู้เขียน ใช้ค� ำว่า “ต้มย� ำกุ้ง” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราจ� ำเป็นต้องท� ำวิจัยมากขึ้น แต่การวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ เรา ตามอย่างตะวันตกกระแสเดียวมากเกินไป เพราะกระแสตะวันตกจะท� ำให้คนทั้งโลกมีลักษณะเหมือนกัน ก็คือ เหมือนในแบบของเขาตามแนวคิดที่เขาเรียกกันว่า “Hambugerizaiton” หรือ “McDonaldization” เราต้องหันมาสนใจสภาพการณ์ของเรามากขึ้น ผู้เขียนจึงใช้ “ต้มย� ำกุ้งโมเดล” แทนแนวคิดท้องถิ่นที่ท� ำการ วิจัยของเราแต่เชื่อมโยงกับนานาชาติด้วยการวิจัยค้นคว้าในเรื่องของประเทศเรา สังคมเราให้มากขึ้น ๗. ไม่สนแม้กระทั่งรัฐมนตรี ตัวอย่างนี้ผู้เขียนขอยกตัวอย่างจากหนังสือต่างประเทศเรื่อง Teach like your Hair’s on Fire แปลเป็นภาษาไทย แล้วในชื่อ “ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกกรอบ” ซึ่งครูเรฟเอสควิท ที่ทุ่มเทเวลาดูแลนักเรียนในชั้นเรียนของท่านอย่างจริงจัง จนท� ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในตัวของผู้เรียนอย่างแท้จริง มีความหมายและมีคุณค่ากับทุกคน ท่านได้กล่าวในท� ำนองว่า ท่านไม่มีเวลา มานึกถึงผู้บริหาร หรือผู้บริหารระดับสูง เพราะท่านต้องสนใจเด็กของท่าน ในที่สุดท่านก็เปลี่ยนแปลงเด็ก ได้ โดยลักษณะนี้อ� ำนาจของครูจึงกลับคืนมาเป็นอ� ำนาจแห่งความเสียสละ ทุ่มเท และดีงาม ส่วนที่ ๖ เริ่มจากบันได ๓ ขั้น ในที่สุดแล้ว “ความพยายาม” ของวิชาชีพครูก็คือการที่ระบบวิชาชีพจะต้องสร้างคนรุ่นใหม่ ที่สอดคล้องกับสังคมยุคใหม่ และน� ำสังคมยุคใหม่ไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมได้ ในทิศทางนี้ การสอนให้ ผู้เรียนมีความสามารถหลักในการจดท่องและจ� ำคงจะไม่เพียงพอ เราต้องสอนให้ผู้เรียนรุ่นใหม่สามารถ คิดวิเคราะห์ได้และตามด้วยส่วนที่ ๒ คือ วางแผนดูว่าเราต้องการให้ผู้เรียนคิดแบบใหม่มีลักษณะอย่างไร ก็ใช้วิธีการสอนแนวนั้น ถ้าต้องการให้เด็กคิดสร้างสรรค์ มีผลงาน มีความรับผิดชอบ และเป็นผู้น� ำอย่าง เพียงพอ ต้องให้เขาได้คิด ได้ท� ำผลงาน ฝึกความรับผิดชอบและฝึกความเป็นผู้น� ำ และส่วนสุดท้าย ส่วนที่ ๓ สอนให้เขาสอนตนเองได้ต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=