วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

297 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.ไพฑูรย์ สิ นลารั ตน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๑. โครงการคุรุทายาท ค� ำภาษาไทยว่า “คุรุทายาท” คือ “ลูกครู” สมัยเมื่อผู้เขียนเป็นคณบดีอยู่ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งกว่า ๒๐ ปีมาแล้ว สมัยนั้นเราพบปัญหา “คนเก่งไม่มาเป็นครู” มีโครงการ รัฐบาลที่เรียกว่า “คุรุทายาท” คือ ให้ทุนท� ำงานแก่ผู้เรียนทางครุศาสตร์ ทุนนี้ให้ผ่านคณะครุศาสตร์ทั่ว ประเทศ เพื่อคัดคนที่เรียนเก่ง (ดูทั้งคะแนนการเรียนและการสอบ) เมื่อเรียนจบแล้วจะบรรจุให้เป็นครู ประจ� ำการเลย ซึ่งเป็นโครงการที่ดี เพราะจะได้คนเก่งในวิชาชีพครู น่าเสียดายไม่นานก็ล้มเลิกไป มาถึง สมัยครูพันธุ์ใหม่ก็เช่นเดียวกันแต่เราต้องให้ผู้บริหารสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ช่วงแรกว่าจะให้ท� ำ ๕ ปี ให้ ทุนเรียนและประกันงานด้วยมีคนเก่งเข้าโครงการนี้มากแต่ในที่สุดท� ำได้ปีเดียวก็เลิกไป การให้ทุนเรียนครูนี้หลักการส� ำคัญก็คือ การคัดคนเรียนนั่นเองซึ่งเกือบทุกประเทศในอาเซียน ด� ำเนินการอยู่ เป็นทางออกที่ดีและได้ผลส� ำหรับการคัดคนเข้าเรียนครู การคัดคนเข้าเรียนครูจึงเป็นเรื่อง ส� ำคัญและจ� ำเป็น ๒. คัดเลือกเฉพาะผู้ที่จบปริญญาเอก เพื่อให้สถาบันครุศึกษาเข้มแข็ง ควรรับเฉพาะผู้จบปริญญา เอกเข้าเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยรวมทั้งเข้าเป็นอาจารย์คณะครุศาสตร์ด้วย เพื่อให้ครุศาสตร์เข้มแข็งใน เชิงวิชาการ แม้การได้รับปริญญาเอกจะไม่ใช่หลักประกันคุณภาพอย่างแท้จริง แต่เป็นแนวทางขั้นต้นที่เรา จะพัฒนาสถาบันครุศึกษาให้มีมาตรฐานสูง ซึ่งกระบวนการอื่น ๆ อาจตามมาที่หลัง เช่น ทุกคนต้องเขียน ต� ำรา บทความ เราอาจศึกษาตัวอย่างของเพื่อนบ้านจากประเทศสิงคโปร์หรือมาเลเซียได้ นอกจากการคัดผู้เรียนในสถาบันครุศึกษาแล้ว การคัดผู้สอนสถาบันครุศึกษาก็ยังจ� ำเป็นเช่น เดียวกัน อนาคตของครุศึกษาไทยต้องเป็น “ครุศึกษาของคนเก่ง” ประเทศไทยจึงจะน� ำอาเซียนได้ ๓. ไม่เกินกว่า ๓๐ คน ต่อชั้นเรียน แนวคิดนี้เป็นมติของคณะกรรมการคุรุสภาชุดที่แล้วที่ก� ำหนด ให้สถาบันครุศึกษาทั่วประเทศจะต้องจัดผู้เรียนในแต่ละห้องไว้เกินกว่า ๓๐ คนไม่ได้ เพราะต้องการ ให้ผู้สอนได้สอนในลักษณะของการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตัวเองได้ ซึ่งจะท� ำให้ผู้เรียนครู มีโอกาสฝึกการสอนด้วยตนเองจนเป็นแบบอย่างกับผู้เรียนได้ ทั้งนี้เพราะปัญหาที่ได้พบ คือ คณะครุศาสตร์ จะจัดผู้เรียนในแต่ละห้อง มีจ� ำนวนตั้งแต่ ๑๐๐ คนขึ้นไป เป็นสิ่งยากแก่การจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ๔. เปิดปากศิษย์ปิดปากครู ดังที่เสนอไว้ในตอนก่อนหน้านี้ว่าเราต้องเลิกการบรรยายโดยสิ้น เชิงเพราะครูของประเทศไทย “(ครู) พูดมากแต่ (เด็ก) เรียนน้อย” เพราะใช้การบรรยายเป็นหลัก จ� ำเป็น ที่จะต้องให้ครูลดหรือเลิกพูดและให้เด็กมีโอกาสพูดมากขึ้น ให้เด็กได้มีโอกาสแสวงหาความรู้ได้มากขึ้น เป็นการสอนที่เปลี่ยนจากวัฒนธรรม “การรับ” ไปสู่ “การสร้าง” เป็นวัฒนธรรมที่จะน� ำไปสู่การแสวงหา ความรู้ การสร้างองค์ความรู้ และใช้ความรู้ได้อย่างฉลาดตลอดจนการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นในสังคมไทย อย่างจริงจังและมากพอ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=