วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
ปฏิ รูปครุศึ กษาไทย : ลอง “พยายามใหม่” ดูอี กที 296 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 สถาบันครุศึกษาและสภาวิชาชีพจ� ำเป็นจะต้องร่วมมือกันในการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู ขึ้นใหม่ซึ่งมีทั้งมาตรฐานกลางและมาตรฐานในแต่ละวิชาพร้อมทั้งก� ำหนดมาตรฐานให้สูงไว้เพื่อยกระดับ ของวิชาชีพ ๖. ค้นคว้าและพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง แม้ในสถาบันผลิตครูหลายแห่งจะสอนวิธีการ วิจัยแต่พอถึงการปฏิบัติจริงครูเองก็จะไม่ต้องได้ท� ำวิจัยมากนัก และมักจะวิจัยตามอย่างต่างประเทศอยู่ เสมอ ผู้เขียนได้มีโอกาสศึกษาส� ำหรับงานการวิจัยที่เสนอร่วมและแลกเปลี่ยนกันระหว่างมาเลเซียกับ ไทยน่าสนใจมาก แต่ยังเป็นประเด็นพื้น ๆ เกินไป ไม่เห็นภาพรวม การวิจัยที่เกี่ยวกับครูและเด็กต้องเป็น การวิจัยที่ส� ำหรับภาพรวม และเชื่อมโยงกับพื้นฐานเดิมของสังคม นโยบายของสถาบันครุศึกษาจึงจ� ำเป็นที่จะต้องก� ำหนดขึ้น โดยก� ำหนดให้ผู้สอนแต่ละคนต้อง ท� ำวิจัยอย่างน้อย ๑ เรื่องต่อคนต่อปี เป็นต้น ๗. ฟื้นวิญญาณของครูกลับมาให้ได้ ถ้าเรามีคนที่เก่งและเข้มแข็งเข้ามาเป็นครู การรวมพลัง ร่วมกันในระดับประเทศและร่วมกันในระดับภูมิภาคด้วยแล้ว การฟื้นวิญญาณของครูจะกลับมาได้โดยง่าย การส่งเสริมครูตัวอย่าง ครูแกนน� ำ ครูผู้น� ำ การแลกเปลี่ยนกรณีศึกษา การด� ำเนินกิจกรรมเหล่านี้อย่าง ต่อเนื่อง จริงจัง และให้มีผลกระทบกับสังคมจะน� ำมาซึ่งพลังอ� ำนาจที่หายไปของครู ส่วนที่ ๕ แนวปฏิบัติบางประการ ในส่วนนี้ผู้เขียนจะขอเสนอตัวอย่างหรือองค์ประกอบบางประการที่มีการด� ำเนินการในประเทศไทย และประเทศอื่น เพื่อการอภิปรายในการแสวงหาทางออกจากปัญหาวิชาชีพครูของเรา ซึ่งผู้เขียนขอเสนอ เป็น ๗ กรณีศึกษา ๑. โครงการคุรุทายาท : เพื่อการคัดเลือกคนเก่งมาเรียนครู ๒. คัดเลือกเฉพาะครูจบปริญญาเอก : เพื่อสร้างการเป็นสถาบันครุศึกษาที่เข้มแข็ง ๓. ชั้นเรียนเล็กเพื่อให้ครูฝึกปฏิบัติวิชาชีพ : ไม่เกินกว่า ๓๐ คน ๔. มีนโยบาย เปิดปากศิษย์ปิดปากครู : ยกเลิกการสอนแบบบรรยาย ๕. ตั้งความหวังให้สูงไว้ : เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูเพื่อคุณภาพ ๖. ต้มย� ำกุ้งโมเดล : การวิจัยให้สอดคล้องกับบริบทสังคม ๗. ไม่สนแม้กระทั่งรัฐมนตรี : ทุ่มเทให้ผู้เรียนอย่างจริงจัง ๗ กรณีศึกษาเพื่อการหาทางออก ภาพประกอบ ๕
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=