วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

295 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.ไพฑูรย์ สิ นลารั ตน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๑. เอาคนไม่ได้เรื่องออกไป ประเด็นนี้คือในวงวิชาชีพครูหรือเราต้องพยายามที่จะคัดเลือก คนเก่งและมีความมุ่งมั่นตั้งใจเป็นครูอย่างแท้จริงเข้ามาในวิชาชีพเราให้ได้ ถ้าเราได้คนเก่งเข้ามาโอกาสที่ เขาจะพัฒนาวิชาชีพให้ก้าวหน้าต่อไปในอนาคตก็จะเป็นไปได้สูง และโอกาสที่เขาจะสอนให้เด็กเป็นคนเก่ง ก็จะเป็นไปได้โดยง่าย พลังอ� ำนาจของอาชีพก็จะกลับมาได้ง่ายขึ้น แต่แน่นอนคนเก่งจะเรียกร้องสูงด้วย เราก็ต้องจัดความสมดุลให้พอดี ความเป็นคนเก่งจึงต้องควบคู่กับความเป็นคนดีด้วย ๒. สถาบันครุศึกษาต้องเป็นสถาบันชั้น ๑ ให้ได้ การเปลี่ยนแปลงสถาบันครุศึกษาที่มีอยู่ เดิมให้เป็นสถาบันชั้น ๑ เป็นเรื่องยากแต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ มีตัวอย่างมากมายที่เราจะเรียนรู้ ไม่ว่า จะเป็นสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟินแลนด์ เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง คณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ของเขาเข้มแข็ง ทั้งสิ้น แน่นอนที่สุดผู้สอนในสถาบันครุศึกษาต้องเป็นคนชั้น ๑ ก่อน แล้วกระบวนการจัดการก็จะตามมา การด� ำเนินการในข้อนี้นั้นรัฐบาลต้องตระหนัก ต้องรับรู้ และต้องสนับสนุนอย่างจริงจังด้วย ไม่เช่นนั้น รัฐบาลนั้นก็จะได้คนในประเทศเป็นคนชั้นรองอยู่ร�่ ำไป ๓. ไม่เกินกว่า ๓๐ คนต่อชั้นเรียน อยากให้ผู้เรียนเป็นอย่างไร ครูต้องเป็นอย่างนั้นก่อน การสอนให้ผู้เรียนเข้มแข็ง จริงจัง มีพลังอ� ำนาจ ต้องให้ผู้เรียนเป็นผู้แสวงหาและเรียนรู้ด้วยตนเอง ถ้าเรา ต้องการสอนให้เด็กคิด เราต้องจัดบรรยากาศให้เขาได้คิด ถ้าเราต้องการสอนให้เขาพัฒนางาน ต้องให้เขา ลงมือสร้างงานเอง กระบวนการอย่างนี้ต้องเกิดจากครูที่มีความรู้ความสามารถ และครูที่มีความสามารถ มากขึ้นอย่างนี้ได้ต้องเป็นครูได้เคยอยู่ในบรรยากาศอย่างนั้นมาก่อน การจัดการเรียนการสอนในสถาบันครู จึงต้องจัดใหม่หมด ด้วยการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นตัวอย่างให้ครูที่จะไปอยู่ในโรงเรียนในบรรยากาศ นั้นเลย ซึ่งในลักษณะอย่างนี้ชั้นเรียนต้องมีจ� ำนวนน้อยและควรไม่เกิน ๓๐ คน ปัจจุบันมีนโยบายรับผู้เรียนครูเอก ๑ ห้อง ๓๐ คนนั้นอาจารย์ผู้สอนพอใจมากเพราะจัดการ สอนได้ง่ายและดี แต่ผู้บริหารไม่ชอบเพราะท� ำให้รับผู้เรียนได้น้อย ๔. ใช้แนวคิด “เปิดปากศิษย์ปิดปากครู” ถ้าเราต้องการให้ผู้เรียนคิดเป็นเราต้องให้เขาฝึก คิดอยู่เสมอ ถ้าเราต้องการให้ผู้เรียนหาความรู้เป็นเราต้องให้เขาหาความรู้อยู่เสมอ และถ้าเราต้องการ ให้เขาท� ำเป็นเราต้องให้เขาท� ำอยู่เสมอ ต้องเลิกชั้นเรียนแบบบรรยาย การบรรยายมีประโยชน์แต่ไม่ใช่กับ วิชาชีพการสอนหรือวิชาชีพครู เพราะการบรรยายไม่ได้สอนให้ผู้เรียนคิด วางแผน ลงมือท� ำ แต่การคิดและ ลงมือท� ำเกิดจากการเรียนด้วยการปฏิบัติจริง คิดจริง วางแผนจริง ฝึกจริง เรียนรู้จริง และประเมินผลจาก ที่ท� ำจริง ไม่ใช่ประเมินผลจากการพูดเท่านั้น ๕. ก� ำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงไว้ ความเป็น Soft Profession ท� ำให้วิชาชีพครู เราท� ำ อะไรแต่พอผ่าน พอใช้ได้ การก� ำหนดมาตรฐานวิชาชีพเป็นสิ่งที่ต้องก� ำหนดเพื่อเป็นแนวทางการผลิตและ การใช้ครูแต่เท่าที่เป็นอยู่มากครูวิชาชีพที่วางกันไว้เป็นเพียงขั้นพื้นฐานซึ่งมีความเหมาะสมและจ� ำเป็น เราต้องวางมาตรฐานให้สูงไว้ เพราะวิชาชีพครูที่จริงจังต้องเป็นวิชาชีพอุดมคติ เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ ส� ำคัญ และน� ำไปสู่สิ่งที่สูงส่งเสมอ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=