วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

291 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.ไพฑูรย์ สิ นลารั ตน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๑. คนเก่งไม่มาเป็นครู ถ้าประเทศไทยเราต้องการให้ประเทศมีคนเก่งขึ้นเราต้องได้คนเก่งมา เป็นครู ถ้าอาเซียนเราต้องการให้ได้เด็กนักเรียนที่เก่งเพื่อเขาจะได้คนเก่งจบและไปเป็นคนของอาเซียน เพื่อเขาจะได้ไปพัฒนาอาเซียนของเราให้รุ่งโรจน์ควบคู่กับในประเทศไทยเช่นกัน อาเซียนเองเราต้องมีครู ที่เก่ง “ดินสอที่ทู่จะเขียนภาพให้สวยงามเป็นไปไม่ได้” หรือจะพูดให้คนเกลียดก็ได้ว่า “คนโง่จะสอนให้คน ฉลาดได้อย่างไร” ผู้เขียนเชื่อว่าเป็นไปไม่ได้ ปัญหานี้ผู้เขียนยังเชื่อว่ายังมีในหลายประเทศ แม้สิงคโปร์และ มาเลเซียจะมีปัญหานี้น้อยลงแต่เมื่อ ๑๐ ปีก่อนก็ยังมีปัญหาอยู่ ในประเทศไทยนี่ชัดเจนมาก ๒. สถาบันครุศึกษาไม่เข้มแข็ง สถาบันครุศึกษา (Teacher Education Institution or Faculty of Education) จะเป็นด่านแรกและเป็นด่านส� ำคัญของวิชาชีพครูซึ่งมักจะถูกมองว่าเป็นสถาบันชั้นสอง ในมหาวิทยาลัยเมื่อเทียบกับคณะหลัก  ๆ เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะบัญชี จึงท� ำให้วิชาชีพครู ไม่เข้มข้นและมีแนวโน้มจะเป็นสถาบันชั้นรองได้โดยง่าย ทั้งนี้เพราะคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ ไม่ได้ให้ความส� ำคัญกับการเป็นเลิศ การมีคุณภาพสูงอย่างมากพอ มักจะท� ำอะไรพอผ่าน พอใช้ได้เพียง พอแล้ว วิธีนี้ท� ำให้สถาบันครุศึกษาไม่เข้มแข็ง ๓. ครูไม่เป็นแบบอย่างที่ดี ความเป็นอนุรักษนิยมในวิชาชีพท� ำให้รูปแบบการบริหารในระดับ สถานศึกษารวมทั้งสถาบันผลิตครูยังมีลักษณะของอ� ำนาจนิยมสูงอยู่ ครูไม่เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งในด้าน การสอนและการด� ำรงตน ระบบในวิชาชีพเองที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูมีอิสรเสรี คิดค้นนวัตกรรม ใหม่ ๆ ได้อย่างจริงจังและเต็มที่ยังมีน้อย รูปแบบการสอนในสถาบันฝึกหัดครูที่จะเป็นแบบอย่างให้กับ นักศึกษาครูก็ยังมีน้อย เราจึงควรดูแลในส่วนนี้ให้เข้มขึ้นและจริงจังกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ๔. ครูบรรยายมากเกินไป ลักษณะและธรรมชาติการสอนของครูยังมีลักษณะเฉื่อย เนือย (Passive) ไม่น่าตื่นเต้นส� ำหรับคนรุ่นใหม่ กระบวนการเรียนการสอนยังเป็นแบบเดิม ๆ ครูใช้เวลากับ การบรรยายเป็นส่วนใหญ่ การพัฒนางานให้มีชีวิตชีวาในการสอนยังมีไม่มากนัก การบรรยายมีข้อจ� ำกัด ในตัวเองคือแม้อาจารย์ผู้สอนจะเตรียมการมาดีและแม้เด็กจะท่องได้ แต่ก็ยังคิดไม่เป็นอยู่นั่นเอง ๕. การควบคุมดูแลมาตรฐานยังอ่อนแอ ในหลายประเทศมีการควบคุมดูแลคุณภาพและ มาตรฐานของครู โดยเฉพาะการประกาศมาตรฐานของวิชาชีพครูซึ่งของไทยเราด� ำเนินการโดยคุรุสภา เองก็ยังไม่เข้มข้นเท่าที่ควร และเห็นว่าในหลายประเทศก็ยังไม่เข้มแข็งเช่นกัน บางประเทศก็ยังไม่มี การใช้มาตรฐานวิชาชีพโดยตรง การสอบใบรับอนุญาต (Licensing) ก็ยังไม่จริงจังนักในหลายประเทศ เราจึงควรดูแลในส่วนนี้ให้เข้มขึ้น จริงจัง และมีคุณภาพสูงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ๖. การวิจัยค้นคว้ายังมีน้อย ความส� ำเร็จของวิชาชีพครูในหลายประเทศ เช่น ฟินแลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์ มีรากฐานมาจากการวิจัยเป็นหลัก แต่ของไทยเราคงยังให้ความส� ำคัญกับงานวิจัยน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นการส่งเสริมในเชิงฝึกอบรม การท� ำงานจึงไม่ลึกซึ้งในทางวิชาการ เราต้องเปลี่ยนปรัชญาของ การศึกษาในสถาบันครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์เสียใหม่ให้งานวิจัยเป็นหลักของบุคลากรทุกคน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=