วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
ปฏิ รูปครุศึ กษาไทย : ลอง “พยายามใหม่” ดูอี กที 290 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ทางเลือกในอนาคตของครูต้องใช้แนวคิด “เปิดปากศิษย์ปิดปากครู” เพื่อให้ผู้เรียนได้พูดแสดง ความเห็นมากขึ้น ๖. เป็นอาชีพเงียบเฉย (Silent Profession) แม้ในข้อก่อนเราจะกล่าวว่าครูพูดมากในชั้น เรียน แต่นอกชั้นเรียนครูกลับเฉยซึ่งในอดีตครูไทยมีบทบาทในชุมชนมาก แต่ปัจจุบันบทบาทเหล่านี้ น้อยลงครูกลายเป็นวิชาชีพสอนเป็นวิชาชีพเงียบเฉย ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะขัดแย้งกับข้อที่ผ่านมา แต่โดย ความเป็นจริงคือ ครูชอบพูดในชั้นเรียน แต่นอกชั้นเรียนหรือในสังคมครูจะเงียบเฉย ใครจะวิจารณ์ครู อย่างไร วิจารณ์การศึกษาอย่างไร ครูจะเงียบและเฉยอย่างเดียว ไม่ได้แย้ง โต้ตอบ หรือโต้เถียงแต่อย่างใด สังคมจึงมักจะว่าครูไม่รู้ ครูไม่สนใจสิ่งแวดล้อม แต่ตามจริงครูคิด ครูรู้สึก แต่ไม่พูด ครูควรมีบทบาทในการโต้แย้ง แสดงบทบาทของตัวเองให้มากขึ้นในปัจจุบันมามีอ� ำนาจเหมือนเก่า จะท� ำให้บทบาทของครูจะเด่นและชัดเจนขึ้น ๗. เป็นวิชาชีพที่ไร้พลังอ� ำนาจ (Powerless Profession) ซึ่งตรงข้ามกับอดีตที่ครูเป็นวิชาชีพ ที่ทรงพลังอ� ำนาจสูงทั้งกับเด็ก ผู้ปกครอง รวมถึงชุมชนด้วย จะเห็นชัดทั้งในอดีตของไทยและของอาเซียน แต่ละประเทศ ครูมีพลังอ� ำนาจสูง ถ้าครูพูดอะไร ชาวบ้านจะฟังและเชื่อ ครูบอกและสอนเด็กจะท� ำตาม แต่ในปัจจุบันสังคมจะให้ความส� ำคัญน้อย ตลอดจนเด็กเองไม่เชื่อฟังครูเท่าที่ควร ครูต้องฟื้นบทบาทกลับมามีอ� ำนาจเหมือนเก่าจะท� ำให้บทบาทของครูจะเด่นและชัดเจนขึ้น ส่วนที่ ๒ ปัญหาและสาเหตุของวิชาชีพครูในประเทศไทย ลักษณะหรือสถานะดังที่จะกล่าว อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นปัญหาส� ำคัญของวิชาชีพครูในปัจจุบัน อย่างมาก แต่ก็ยังไม่ได้มีการแก้ไข ในส่วนนี้ขอเสนอประเด็นเพื่อการอภิปรายเป็น ๗ ประเด็น คือ ๑. คนเก่งไม่มาเป็นครู ๒. สถาบันครุศึกษาไม่เข้มแข็ง ๓. ครูไม่เป็นแบบอย่างที่ดี ๔. ครูบรรยายมากเกินไป ๕. การควบคุมดูแลมาตรฐานยังอ่อนแอ ๖. การวิจัยค้นคว้ามีน้อย ๗. ขาดอุดมคติ ความมุ่งมั่น และความส� ำนึก ปัญหาในวิชาชีพครูของไทย ภาพประกอบ ๒
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=