วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

19 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ เจ้าหน้าที่ศิลปาชีพที่ไปแนะน� ำราษฎรในท้องที่ต่าง ๆ ยังได้รับพระราชเสาวนีย์ให้มอง หาผ้าขี้ริ้วด้วย เมื่อเวลาไปเยี่ยมราษฎร เพราะผ้าที่ใช้เป็นผ้าขี้ริ้วมักเป็นผ้าเก่าที่หมดสภาพใช้สอยแล้ว เป็นแหล่งลวดลายดั้งเดิมได้อย่างดี ส� ำหรับชาวบ้านที่มีฝีมือดี เช่น ชาวบ้านนาโพธิ์จะโปรดเกล้าฯ ให้น� ำลายเก่าจากผ้าโบราณในราชส� ำนักมาให้ทอเลียนแบบ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ลายผ้าโบราณเหล่านั้นไว้ ผ้าไหมขิด โปรดเกล้าฯ ให้ชาวบ้านเสาะหาลายเก่า ๆ น� ำมาเป็นลวดลายตัวอย่าง ในการทอผ้าไหมขิด เช่น ลายดอกแก้ว ลายขอ ลายพิกุล ลายข้าวหลามตัด ๓๘ ทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้ชาวบ้าน ในจังหวัดอุดรธานีใช้ไหมในการทอลายขิด และทรงรับซื้อผลผลิตนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ไหมขิดไว้ เพราะชาวบ้านไม่นิยมทอเนื่องจากใช้เวลานานกว่าการทอผ้าฝ้ายมาก ทั้งเส้นไหมยังมีราคาแพง และ ความต้องการผ้าไหมขิดจากร้านค้าของเอกชนอาจไม่เพียงพอ ผ้าไหมแพรวา ทรงอนุรักษ์ลักษณะการทอหลายลายในผืนเดียวกันซึ่งเป็นลายดั้งเดิม กล่าวคือมีลายหลัก เช่น ลายพันมหาอุ้มหงส์ นาคสี่แขน ช่อขันหมาก ดาวไต่เครือ งูลอยหกไม้ นอกจากนี้ ยังมีลายแถบ เช่น ลายดอกดาวหมู่ ลายดอกแปดขอ แต่เดิมผืนหนึ่งแบ่งออกเป็นช่อง ๆ เรียกว่า “หว่าง” แต่ละหว่างจะมีลวดลายไม่ซ�้ ำกัน กระบวนการทอจึงยากและซับซ้อน เมื่อเปลี่ยนเป็นการผลิตเพื่อขาย ชาวบ้านจึงมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนการทอ โดยการทอลวดลายเพียงลายเดียวและลายไม่นูนสวยเหมือนแบบ โบราณเพื่อให้ทอได้เร็วขึ้นและขายได้เร็วขึ้น โดยที่พ่อค้าและผู้บริโภคอาจไม่ทราบและไม่สนใจว่าผิดเพี้ยน ไปจากเดิม แต่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถโปรดเกล้าฯ ให้รักษาวิธีการทอแบบดั้งเดิมนี้ บางปีไม่พระราชทานรางวัลในการประกวดผ้าให้แก่ผ้าประเภทแพรวาเลย เพราะชาวบ้านทอเพียงลายเดียว หรือ ๒ ลายซึ่งง่ายกว่ามาก นับว่าได้ทรงอนุรักษ์ประเพณีการทอแบบดั้งเดิม คือให้ทออย่างน้อย ๓ ลาย ใน ๑ ผืน ดังนั้น แพรวาที่แท้จริงเพียงผืนเดียวจะมีลวดลายมากกว่า ๑๐ ลาย ๓๙ การอนุรักษ์ศิลปะทอผ้าอีกประการหนึ่งก็คือ การที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถโปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรในโครงการส่งเสริมศิลปาชีพใช้ไหมพื้นเมืองในการทอ การที่ทรงส่งเสริม ให้ใช้ไหมพื้นเมือง นับว่ามีความส� ำคัญอย่างยิ่งต่อการอนุรักษ์ผ้าไหมพื้นเมืองอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ นอกจากนี้ยังทรงอุปถัมภ์ช่างทอฝีมือดี เพื่อให้เป็นครูฝึกถ่ายทอดความรู้และความช� ำนาญให้แก่อนุชนรุ่น หลังต่อไป ข้อที่น่าสังเกตจากการสัมภาษณ์ครูฝึกเหล่านี้ก็คือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีวิธีการที่จะจูงใจให้ครูฝึกเหล่านี้ท� ำหน้าที่ต่อไป โดยมีพระราชด� ำรัสไต่ถามทุกข์สุข ทรงมีความรู้ใน ๓๘ สัมภาษณ์คุณหญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ (ปัจจุบันคือท่านผู้หญิง) รองราชเลขาธิการในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ โรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดา กรุงเทพฯ ๒๙ มีนาคม ๒๕๓๕. ๓๙ สัมภาษณ์นางค� ำสอน สระทอง ครูฝึกแพรวา ณ ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม ต� ำบลเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร ๑ เมษายน ๒๕๓๕.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=