วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ปฏิรูปครุศึกษาไทย : ลอง “พยายามใหม่” ดูอีกที * ศาตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ ในบทความนี้ผู้เขียนได้กล่าวถึงการปฏิรูปครุศึกษาของไทยว่ามีการปฏิรูปกันมาตลอดแต่ ไม่ค่อยได้ผลมากนัก ผู้เขียนเสนอว่าต้องลองพยายามปฏิรูปอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะมีโอกาสประสบความส� ำเร็จ มากขึ้นเพราะสภาพแวดล้อมปัจจุบันเอื้อต่อการปฏิรูปมากขึ้น ผู้เขียนยังได้เสนอแนวทางในการปฏิรูป ๗ ประการด้วยกันคือ (๑) โครงการคุรุทายาท : เพื่อคัดเลือกคนเก่งเข้าเรียนครู (๒) เฉพาะปริญญา เอกเท่านั้น : เพื่อสร้างสถาบันครุศึกษาที่เข้มแข็ง (๓) ๓๐ ยังแจ๋ว : จัดชั้นเรียนไม่เกิน ๓๐ คน (๔) โครงการเปิดปากศิษย์ปิดปากครู : ยกเลิกการสอนแบบบรรยาย (๕) ดวงดาวเป็นเป้าหมาย : ก� ำหนด เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพให้ครูเพิ่มคุณภาพ (๖) ต้มย� ำกุ้งโมเดล : การวิจัยที่สอดคล้องกับสังคมไทย และ (๗) ไม่สนแม้กระทั่งรัฐมนตรี : ครูต้องทุ่มเทให้กับผู้เรียนอย่างเต็มที่และเต็มเวลา มีรายละเอียดของ ข้อเสนอและข้อวิพากษ์วิจารณ์ประกอบด้วยอย่างเพียงพอ ค� ำส� ำคัญ : ครุศึกษาไทย, การปฏิรูปครุศึกษา, คุรุทายาท, ต้มย� ำกุ้งโมเดล, เปิดปากศิษย์ปิดปากครู, การอุทิศตนของครู ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอแบ่งเรื่องที่จะเสนอเป็น ๗ ส่วนหลักคือ ส่วนที่ ๑ พูดถึงภาพลักษณ์หรือ ลักษณะของวิชาชีพครูในประเทศไทยที่ก� ำลังเปลี่ยน ในส่วนที่ ๒ จะพูดถึงปัญหาและสาเหตุของวิชาชีพครู ในประเทศไทยที่เชื่อมโยงกับส่วนที่ ๑ ส่วนที่ ๓ โอกาสในการปฏิรูปมีมากขึ้นกว่าในอดีต ส่วนที่ ๔ เป็นเรื่องที่เสนอให้ลองพยายามใหม่ดูอีกที ส่วนที่ ๕ เป็นแนวปฏิบัติเป็นตัวอย่างบางประการ ส่วนที่ ๖ เริ่มจากบันได ๓ ขั้น และส่วนที่ ๗ ส่วนสุดท้ายจะเป็นข้อสรุปและข้อฝากกับเพื่อนสมาชิกในวิชาชีพเดียวกัน และวิชาชีพอื่นที่สนใจ เดิมผู้เขียนตั้งใจว่าจะเสนอให้ผู้สนใจได้ลอง “คิดใหม่” เกี่ยวกับวิชาชีพครูจากประสบการณ์ ของผู้เขียน แต่เมื่อได้ลองประมวลสิ่งที่อยากจะให้ท่านผู้อ่านได้คิดใหม่ดูแล้วก็พบว่าที่เราคิดว่าเป็น * ปรับปรุงจากรายงานที่เสนอในการประชุมส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=