วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
283 รองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ หิ รั ญรั กษ์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ การขนส่ง ระบบโลจิสติกส์ นิคมอุตสาหกรรม การบ� ำบัดน�้ ำเสีย การก� ำจัดขยะ ท� ำให้มีโรงเรียนนานาชาติ มหาวิทยาลัยนานาชาติ โรงพยาบาลที่ทันสมัย สถานที่พักอาศัยทั้งบ้านจัดสรร อพาร์ตเมนต์ คอนโดมิเนียม สวนสาธารณะ ฯลฯ ท� ำให้มีความพร้อมและทันสมัยในเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อดึงดูดใจนักลงทุน ชาวต่างประเทศ ๒. มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์และการออกตลาด (Road Show) อย่างเข้มข้นแนะน� ำเขต เศรษฐกิจพิเศษของไทยให้เป็นที่รู้จักในหมู่นักลงทุนทั่วโลก ๓. สิทธิพิเศษส่งเสริมการลงทุนต่าง ๆ ทั้งด้านสิทธิทางการเงิน การลดหย่อนภาษีรายได้นิติบุคคล อากรขาเข้าและขาออก สิทธิในการครอบครองที่ดินและการพักอาศัยในประเทศไทยและ สิทธิด้าน การจัดการแรงงานต่าง ๆ จะต้องมีความทันสมัย และดีกว่าหรือไม่ด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ๔. การให้บริการต่าง ๆ ในการท� ำนิติกรรมสัญญาต่าง ๆ และในการติดต่อประสานงานต่าง ๆ ใน ขั้นตอนของการเริ่มต้นการลงทุนจะต้องสะดวก รวดเร็วประทับใจ เสียค่าใช้จ่ายต�่ ำ ไม่มีการเรียกร้องค่า บริการพิเศษใด ๆ จากนักลงทุน ๕. มีการประสานความร่วมมือกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศ เพื่อนบ้านใกล้เคียงในการเป็นห่วงโซ่การผลิต (Supply chain) ซึ่งกันและกัน แทนการแข่งขันกัน หรือ แบ่งสัดส่วนการผลิตกันตามความถนัดของแต่ละเขตเศรษฐกิจพิเศษ ๖. มีการประสานความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลส่วนกลางกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนและภาคประชาชนในท้องถิ่นในการก� ำหนดนโยบายทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของเขต เศรษฐกิจพิเศษ โดยก� ำหนดให้ทั้งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจากระดับจังหวัด อ� ำเภอ ต� ำบล สภาหอการค้า หน่วยงานตัวแทนทุกส่วนราชการ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย ส� ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ส� ำนักงานส่งเสริมการลงทุน นิคมการ อุตสาหกรรม ตัวแทนภาคเอกชนและภาคประชาชนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น มีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษ รูปแบบการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษที่เป็นอิสระจากส่วนกลางที่มีส่วนร่วม จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะลดปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ลงได้ ๗. รัฐบาลยังต้องส่งเสริมการพัฒนาภาคเกษตรกรรม การปศุสัตว์ การประมง การพัฒนา และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบส� ำหรับโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป การเกษตร และอุตสาหกรรมที่ใช้น�้ ำ ไม้ ดิน หิน แร่ธาตุ ของภูมิภาคเป็นวัตถุดิบ แทนที่จะต้องรอพึ่งพา อาศัยวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=