วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
ความฝันของคนไทยเรื่ องเขตเศรษฐกิ จพิ เศษเพื่ อประชาคมเศรษฐกิ จอาเซี ยน 282 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ในขณะที่ที่ดินในจังหวัดชายแดนของไทยก็มีราคาสูงขึ้นเมื่อรัฐบาลไทยประกาศให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่ในประเทศเพื่อนบ้าน รัฐบาลสามารถควบคุมราคาที่ดินในเขตเศรษฐกิจพิเศษได้ตามกฎหมาย ๕. มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างแนวคิดในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษระหว่าง ภาคประชาชนในพื้นที่กับนโยบายของรัฐบาลกลาง เช่นกรณีของจังหวัดตราดที่รัฐบาลกลางมุ่งส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมในเขต เศรษฐกิจพิเศษ แต่ภาคประชาชนในจังหวัดตราด ต้องการให้ส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยว ตามธรรมชาติ ทะเล และภูเขาป่าไม้มาก ไม่ต้องการส่งเสริมอุตสาหกรรม เพราะจะก่อให้เกิดปัญหาสภาพ แวดล้อมเสื่อมโทรม น�้ ำทะเลเน่าเสีย ควันพิษ จะท� ำให้เสียบรรยากาศในการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นรายได้ส� ำคัญ ของจังหวัดตราด นอกจากนั้น การมีรัฐบาลท้องถิ่นของจังหวัดกับรัฐบาลกลางที่มาจากต่างพรรคการเมืองกัน ก็จะเป็นสาเหตุให้การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดที่มีปัญหาในการบริหารและการพัฒนาได้ ดังเช่นที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เมื่อเกิดเหตุมหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ที่รัฐบาลกลางและผู้บริหาร กรุงเทพมหานครมาจากคนละพรรคการเมืองกัน ๖. ความไม่เชื่อมั่นในสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศไทย ทั้งปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศไทย ที่ผ่านมาและปัญหาการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะท� ำให้นักลงทุนชาวต่างประเทศ ขาดความเชื่อมั่นในความปลอดภัย ไม่กล้าเสี่ยงที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย นอกจากนั้น ประเทศ ที่มีรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจะถูกประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศสหภาพ ยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางการค้าแก่สินค้าจากประเทศดังกล่าว ซึ่งจะท� ำให้สินค้าจากประเทศไทยมีความ เสียเปรียบในการแข่งขันกันกับสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากประเทศไทยจะถูกตัดสิทธิพิเศษ ทางการค้าจากประเทศผู้ซื้อรายใหญ่ ๆ ในโลก จึงท� ำให้ต้นทุนสินค้าสูงกว่าราคาจึงแพงกว่า ข้อเสนอแนะเพื่อให้ความฝันเป็นความจริง ทางออกที่จะท� ำให้ความฝันของคนไทยเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นความจริงได้ ได้แก่ ๑. ประเทศไทยจะต้องใช้ความได้เปรียบด้านเงินทุนและเทคโนโลยีและการบริหารจัดการที่ มีมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านสร้างและพัฒนาเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ทั้งสาธารณูปโภคและ สาธารณูปการทั้งถนน รถไฟ ท่าเรือ สนามบิน ชลประทาน ไฟฟ้า น�้ ำประปา โทรศัพท์ การคมนาคมสื่อสาร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=