วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

281 รองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ หิ รั ญรั กษ์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ชาวสิงคโปร์จ� ำนวนมากจึงขยายการลงทุนเข้ามาตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษอีสกันดาร์ ของมาเลเซีย จึงท� ำให้เขตเศรษฐกิจพิเศษมีการพัฒนาและเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและเป็นแรงดึงดูดใจ ให้นักลงทุนจากประเทศอื่น ๆ เข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นอีก แต่กรณีเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทยส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ ในจังหวัดชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีรายได้และการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ในระดับต�่ ำกว่าไทย ทั้งกรณีเขตเศรษฐกิจพิเศษตากอยู่ติดกับประเทศเมียนมา เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและเขต เศรษฐกิจพิเศษตราดอยู่ติดกับประเทศกัมพูชา และเขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหารอยู่ติดกับประเทศ สปป. ลาว ซึ่งประเทศไทยไม่สามารถพึ่งพาอาศัยนักลงทุนจากประเทศเหล่านี้ได้เลย ในขณะเดียวกัน ประเทศเหล่ านี้ก็มีการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นตามจังหวัดชายแดนที่ติดกับประเทศไทยด้ าน ที่มีการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น และมีการให้สิทธิพิเศษทางการค้าและการลงทุนเช่นเดียวกับ ประเทศไทย เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศให้เข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศ จึงท� ำให้มีการแข่งขันกันในการหานักลงทุนชาวต่างประเทศและเงินลงทุน และการจัดหาวัตถุดิบทั้งสินค้า เกษตร และสินค้าประมง แร่ธาตุและทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งแรงงานที่มีราคาถูก เนื่องจากทุกประเทศ ต่างก็ส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและประมง อุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ น�้ ำ ไม้ แร่ธาตุและดินที่มีอยู่ในภูมิภาค อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ที่คล้าย ๆ กัน นอกจากนั้น เมื่อแข่งขันกันในเรื่องต้นทุนแรงงานต�่ ำ โรงงานอุตสาหกรรมของประเทศไทยก็จะเสียเปรียบ เนื่องจากปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมไทยก็ได้อาศัยแรงงานส่วนหนึ่งมาจากประเทศเพื่อนบ้านอยู่แล้ว ทั้งจากกัมพูชา สปป. ลาว และเมียนมา การแข่งขันกันจะท� ำให้ต้นทุนแรงงานของโรงงานอุตสาหกรรม ของไทยมีต้นทุนที่สูงกว่า ในขณะที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา (สะเดาปละปาดังเบซาร์) ซึ่งอยู่ติด กับประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีรายได้สูงและมีการพัฒนาเศรษฐกิจสูง ก็ไม่อาจคาดหวังว่ าจะดึงดูด นักลงทุนจากประเทศมาเลเซียเข้ามาได้ เพราะประเทศมาเลเซียเองก็มีการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ติดชายแดนประเทศไทยและมีการส่งเสริมการลงทุนและให้สิทธิพิเศษในการลดหย่อนภาษีอากร เพื่อดึงดูดทั้งนักลงทุนมาเลเซียและนักลงทุนชาวต่างประเทศ เอาไว้ในเขตเศรษฐกิจพิเศษของตน ๔. การหวังพึ่งวัตถุดิบ สินค้าเกษตร สินค้าประมง แร่ธาตุ และทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ที่มีอยู่ในภูมิภาค ทั้งภายในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจ พิเศษของไทย จะพบปัญหาการแย่งชิงจากโรงงานอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศเพื่อนบ้าน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=