วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
ความฝันของคนไทยเรื่ องเขตเศรษฐกิ จพิ เศษเพื่ อประชาคมเศรษฐกิ จอาเซี ยน 280 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 มีความทันสมัยและมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่การส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดให้มีนักลงทุนชาวต่างประเทศ จ� ำนวนมากเดินทางเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นในจังหวัด ต่าง ๆ นั้น จะเป็นความฝันที่เป็นจริงหรือไม่นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่อไปนี้ ๑. ภาวะเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต�่ ำหรือขยายตัว ถ้าช่วงเริ่มต้นของการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษอยู่ในช่วงภาวะเศรษฐกิจโลกตกต�่ ำ ประเทศ มหาอ� ำนาจทางเศรษฐกิจที่เป็นนักลงทุนในประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา สเปน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ เลบานอน ซาอุดีอาระเบีย เป็นต้น มีภาวะเศรษฐกิจของประเทศซบเซา การส่งออกมีแนวโน้มตกต�่ ำลงก� ำลังใจของนักลงทุนในประเทศเหล่านี้ ที่จะขยายการลงทุนเข้ามาในประเทศไทยก็จะลดลง ๒. การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ก� ำหนดการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้มีการเลื่อนไปหนึ่งครั้งแล้ว จากเดิมวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๘ ไปเป็นวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ ในการประชุมสุดยอดผู้น� ำอาเซียน ณ กรุงพนมเปญ ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เนื่องจากมีปัญหาที่จะต้องจัดการอีกมากมาย รวมทั้งข้อตกลงและ ขั้นตอนต่าง ๆ อีกมากมายที่ประเทศต่าง ๆ ยังตกลงกันไม่ได้ อาทิ ประเด็นเรื่องการตรวจลงตรา ภาษี อากรสินค้า กฎระเบียบว่าด้วยการลงทุนระหว่างกัน ขณะเดียวกันถึงแม้จะมีการด� ำเนินการของประเทศ ต่าง ๆ ตามพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะคืบหน้าไปพอสมควร กระนั้นผู้น� ำบางประเทศ ยังมีความวิตกกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามหลังมาหลังจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่มีลักษณะข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ปัญหาการค้าชายแดน ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ปัญหาการค้ามนุษย์ อาเซียนจึงจ� ำเป็นจะต้องเร่งส่งเสริมมาตรการเชิงนโยบายที่ จ� ำเป็นต่อการเปิดประชาคมอาเซียน ทั้งประเด็นเรื่องมาตรการกีดกันทางการค้า การติดต่อสื่อสาร คมนาคม การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ความคิดริเริ่มเกี่ยวกับบูรณาการอาเซียน ซึ่งถ้าหากยังไม่สามารถหาข้อตกลงมาตรการร่วมมือกันได้ ก็จะมีแนวโน้มที่จะต้องเลื่อนการเปิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนออกไปอีก ซึ่งจะมีผลกระทบมากมายตามมาต่อมาเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษตามจังหวัด ชายแดนของประเทศไทย ๓. การแข่งขันจากเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศเพื่อนบ้าน เขตเศรษฐกิจพิเศษอีสกันดาร์ของประเทศมาเลเซียประสบความส� ำเร็จในการดึงดูดนักลงทุน ชาวต่างประเทศ เนื่องจากเขตเศรษฐกิจพิเศษตั้งอยู่ในรัฐยะโฮร์ทางตอนใต้ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งอยู่ ติดกับประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีรายได้สูงและก� ำลังมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นักลงทุนภาคอุตสาหกรรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=