วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

257 ศาสตราจารย์ ดร.มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ “บัญชีครัวเรือน” มีการออมมีการรวมกลุ่มอาชีพ และมีการด� ำรงชีวิตอย่างเพียงพอตามอัตภาพตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาหนี้สินให้กับชาวบ้าน นอกเหนือจากการท� ำบัญชีครัวเรือนเพื่อหาทาง ลดรายจ่ายส� ำหรับสินค้าหรือบริการที่ไม่จ� ำเป็นแล้ว ผู้ปกครองและคณะกรรมการหมู่บ้านยังมีวิธีการใน การเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกของชุมชนโดยสนับสนุนให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริม เงินจากกองทุนเพื่อการผลิต และการลงทุนของหมู่บ้านถูกน� ำมาใช้ในการฝึกอาชีพและส่งเสริมการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านผู้สนใจ มีการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบส� ำหรับการประกอบอาชีพเสริมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแกะสลักไม้ การทอผ้า และการปลูกพืชผักสวนครัว ผลิตภัณฑ์ และผลผลิตที่ได้จะมีการประสานและจัดหาตลาดในการจ� ำหน่าย ให้โดยที่ชาวบ้านไม่ต้องกังวล บทเรียนที่ ๔ การจัดการสิ่งแวดล้อม ดิน น�้ ำ และป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความส� ำคัญต่อการด� ำรงชีวิตของชาวชุมชน บ้านสามขา ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชนเท่าที่ผ่านมาคือ ภัยแล้ง การขาดแคลนน�้ ำ เพื่อการเพาะปลูก และดินขาดความอุดมสมบูรณ์ สาเหตุหลักของการเกิดภัยแล้งคือ ป่าไม้ที่เป็นแหล่ง ต้นน�้ ำถูกท� ำลาย ด้วยเจตคติและความเชื่อที่ไม่ถูกต้องที่ว่าการเผาป่าจะท� ำให้ได้ผลผลิตจากป่า เช่น เห็ด ผักหวาน หน่อไม้ มากขึ้นในฤดูกาลถัดมา อีกทั้งความคิดที่ว่าการเผาป่ายังเป็นวิธีการจับสัตว์ป่า มาเป็นอาหารหรือเป็นสินค้าน� ำไปขายได้ด้วย จริง ๆ แล้วการเผาป่าคือการท� ำลายสมดุลทางธรรมชาติ แทนที่ผลผลิตจากป่าจะมีความอุดมสมบูรณ์ตามเจตคติที่ผิดกลับหดหายเหลือน้อยลง ซ�้ ำร้ายคือ แหล่ง ต้นน�้ ำล� ำธารถูกท� ำลายท� ำให้เกิดภัยแล้งเป็นผลตามมา บทเรียนของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของผู้ปกครองและคณะกรรมการหมู่บ้านคือ การปรับเปลี่ยน เจตคติและความเชื่อของชาวบ้านในเรื่องดังกล่าว ประสบการณ์เชิงประจักษ์ที่น่ายึดถือเป็นต้นแบบอย่าง ยิ่งในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนคือการสร้างความตระหนักและจิตส� ำนึก ซึ่งหมายถึงการสร้าง ความรู้ความเข้าใจและความรู้สึกรับผิดชอบด้วยการให้ชาวบ้านได้เรียนรู้จากของจริงในพื้นที่ วิธีปฏิบัติ ง่าย ๆ คือให้ชาวบ้านสังเกตพื้นที่ป่าที่ถูกเผาท� ำลายและพื้นที่ป่าที่ยังคงความเป็นธรรมชาติอยู่ในฤดูฝน ถัดมา การเรียนรู้จากของจริงเพียงระยะเวลา ๒-๓ ปี ชาวบ้านต่างได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าการเผาท� ำลายป่า มิได้ท� ำให้ผลผลิตจากป่าเพิ่มขึ้นตามความเชื่อที่มีอยู่ก่อน ตรงกันข้าม พื้นที่ป่าที่ไม่ได้ถูกท� ำลายกลับให้ ผลิตภัณฑ์จากป่ามากกว่า ยิ่งไปกว่านี้คือ การรักษาผืนป่ายังช่วยท� ำให้พื้นดินเกิดความชุ่มชื้น และช่วยให้ ฝนตกต้องตามฤดูกาล ความตระหนักดังกล่าวได้มีส่วนช่วยท� ำให้ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันในการสร้างฝาย ชะลอน�้ ำ เฝ้าระวังการเกิดไฟป่า และป้องกันการบุกรุกท� ำลายป่า ปัจจุบันชาวบ้านชุมชนบ้านสามขาสามารถ ท� ำการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูกาลและนอกฤดูกาล เพราะมีแหล่งน�้ ำและทรัพยากรน�้ ำเพียงพอ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=