วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

255 ศาสตราจารย์ ดร.มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ความพิเศษของบทเรียนในการพัฒนาสังคมของชุมชนบ้านสามขาที่น่าจะเป็นต้นแบบส� ำหรับ ชุมชนอื่นได้ คือ การหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของคนในชุมชนด้วยการให้เกียรติซึ่งกันและกัน หลักปฏิบัติ ส� ำหรับกรณีนี้คือ ทุกครั้งที่จะมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ของชุมชน จะมีการจัดเวทีประชาคม เพื่อชี้แจงและระดมความคิดเห็นร่วมกัน ความน่าสนใจอย่างยิ่งที่จัดว่าเป็นลักษณะเฉพาะของบทเรียนนี้ คือ ในการประชุมแต่ละครั้ง (๑) จะไม่มีการฆ่าความคิด หมายถึงการเปิดโอกาสให้แต่ละคนที่ต้องการ แสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะถูกหรือผิด และไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือขัดแย้งกับความคิดเห็นของคนอื่นก็ตาม ได้แสดงออกอย่างเต็มที่ ไม่มีการห้ามหรือระงับการแสดงความคิดเห็นกลางคัน หลังจากนั้นจึงอภิปราย ร่วมกันด้วยเหตุและผล และ (๒) ไม่มีการคิดแทนคนอื่น การตัดสินใจด� ำเนินการอะไรจะไม่มีการอ้างอิง ว่าเป็นเพราะคนอื่นคิดหรือคนส่วนใหญ่คิดโดยไม่ได้เป็นความคิดเห็นของคนเหล่านั้นจริง แต่จะใช้หลักของ ประชาธิปไตยโดยยึดความคิดเห็นจริงของคนส่วนใหญ่ ผลส� ำเร็จเชิงประจักษ์ของการพัฒนาสังคมตามแนวปฏิบัติดังกล่าวคือ การมีส่วนร่วมของประชาชน ในกิจกรรมของหมู่บ้านในหลากหลายรูปแบบทั้งร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมทุนทรัพย์ และร่วมเป็น คณะกรรมการประจ� ำหมู่บ้านชุดต่าง ๆ บทเรียนที่ ๓ การพัฒนาเศรษฐกิจ บทเรียนของการพัฒนาเศรษฐกิจในที่นี้มุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาความยากจนและภาวะการเป็น หนี้สินของสมาชิกในชุมชนเป็นส� ำคัญ แนวทางปฏิบัติในการแก้ปัญหาเป็นไปตามหลักคิดที่กล่าวแล้ว ข้างต้นคือ ต้องรู้ให้ได้ก่อนว่าสาเหตุของปัญหาคืออะไร การศึกษาเชิงส� ำรวจของผู้ปกครองและ ภาพที่ ๓ การประชุมชี้แจง ภาพที่ ๔ การประชุมระดมความคิดเห็น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=