วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
253 ศาสตราจารย์ ดร.มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ หมู่บ้าน ทรัพยากรดิน น�้ ำ และป่าไม้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม ความส� ำเร็จในการปกครอง และ การบริหารจัดการที่เกิดขึ้นที่ชุมชนบ้านสามขาสามารถที่จะน� ำมาถอดเป็นบทเรียนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง ให้กับชุมชนในพื้นที่อื่นได้ดังต่อไปนี้ บทเรียนที่ ๑ “เข้าใจคน พัฒนาคน” ถ้าถามนักบริหารและนักวิชาการที่มีภูมิรู้สูงว่าการแก้สรรพปัญหาให้ลุล่วงหมดสิ้นไป ควรจะแก้ ณ จุดใด? ค� ำตอบที่เชื่อว่าจะออกมาคล้าย ๆ กันหรือท� ำนองเดียวกันคือ ต้องแก้ที่ต้นเหตุ ถ้าจะถาม ต่อไปว่าการแก้ที่ต้นเหตุคือแก้ที่ไหน? ค� ำตอบที่เชื่อว่าจะออกมาคล้าย ๆ กันอีกคือ ต้องแก้ที่ “คน” เพราะคนคือผู้ก่อหรือผู้สร้างปัญหา สุดท้ายถ้าต้องตอบค� ำถามว่า การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือแก้ที่คน มีวิธีการอย่างไร? เชื่อเหลือเกินว่านักบริหารและนักวิชาการจะตอบตรงกันว่า “ต้องให้คนมีการศึกษา” ค� ำตอบเชิงแนวคิดและหลักการดังกล่าวข้างต้นอาจเป็นจริงในหลายกรณี แต่ก็อาจเป็นเท็จได้ในบางกรณี การให้การศึกษาแก่คนถือเป็นเรื่องดีเพราะเป็นการให้ความรู้หรือให้ปัญญา อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่า การสร้างปัญญาให้กับคนโดยไม่สร้างความรับผิดชอบหรือ “สติ” ให้เกิดควบคู่กันไปด้วยนั้น อาจท� ำให้ ปัญหาที่ปรากฏอยู่แล้วมีวิกฤติรุนแรงมากขึ้นไปอีกก็เป็นได้ การพัฒนาคนของชุมชนบ้านสามขาโดยผู้ปกครองและกรรมการหมู่บ้านมิได้มุ่งเน้นที่การให้ปัญญา แก่ชาวบ้านเพียงอย่างเดียว แต่ได้ให้ความส� ำคัญกับการปลูกจิตส� ำนึกและความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในใจ ของชาวบ้านด้วย จริง ๆ แล้วขั้นตอนของการสร้างความตระหนักและจิตส� ำนึก (ปัญญาและสติ) ให้กับ สมาชิกของชุมชนบ้านสามขาไม่ได้มีขั้นตอนอะไรที่สลับซับซ้อน เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการท� ำให้ชาวบ้านรู้และ เข้าใจเป็นล� ำดับแรกว่า ปัญหาหรือความเดือดร้อนของตนเองคืออะไร? ขั้นตอนต่อไปคือ ให้คนที่มีปัญหา มีความเดือดร้อนสืบสวนหาสาเหตุแห่งความเดือดร้อนนั้น ขั้นตอนสุดท้ายคือ ช่วยกันคิดและไตร่ตรองว่า จะแก้ปัญหาและความเดือดร้อนนั้นได้อย่างไร? ผู้ปกครองและคณะกรรมการหมู่บ้านบ้านสามขารู้และตระหนักเป็นอย่างดีเหมือนกับที่คนทั่วไป รู้และตระหนักว่าการท� ำงานกับ “คน” โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การเข้าใจและการพัฒนาคนเป็นสิ่งที่ท� ำได้ ล� ำบาก ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นเรื่องยากแต่ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายด้วยคิดว่าถ้าไม่ท� ำก็ไม่รู้ว่ายากล� ำบากจริงหรือไม่ และการจะแก้ปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนของชาวบ้านจะไม่มีโอกาสได้เริ่มต้น บทเรียนของการท� ำความ เข้าใจคนในชุมชนบ้านสามขาของคณะผู้ปกครองโดยการน� ำของพ่อหลวงจ� ำนงค์ จันทร์จอม เริ่มต้นด้วย การสังเกตและศึกษาพฤติกรรมของคนในชุมชน ที่สุดแล้วพบว่าลักษณะพฤติกรรมโดยทั่วไปของคน ในบ้านสามขาแบ่งออกได้เป็น ๔ กลุ่มในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=