วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

251 ศาสตราจารย์ ดร.มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ (๑) ปัญหาด้านสังคม ปัญหารากเหง้าของประชาชนในชุมชนบ้านสามขาที่กลายเป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดการพัฒนาและส่งผลให้ชาวบ้านมีความอยู่ดีและกินดีในปัจจุบันคือ ความยากจน ความยากจน น� ำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพและการศึกษา สุขภาพที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรงผนวกเข้ากับการขาดการศึกษา ของประชาชน ท� ำให้โอกาสในการท� ำงานและการหารายได้ต�่ ำ ปัญหาสังคมอีกประการหนึ่งคือ ประชาชนส่วนหนึ่งในชุมชนยังขาดความตระหนักและจิตส� ำนึก ในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน หลายคนคิดว่าการบริหารจัดการภารกิจต่าง ๆ ของหมู่บ้านเป็น หน้าที่ของผู้น� ำ คือ ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน คนกลุ่มนี้คิดเพียงว่าท� ำอะไรก็ได้เพื่อประโยชน์ ของตนเองและครอบครัวของตนเอง ส่วนเรื่องอื่นเป็นเรื่องของ “ธุระไม่ใช่” หลายครั้งหลายกรณีที่ความ คิดแบบนี้ของสมาชิกในชุมชนบางคนได้กลายเป็นเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับคนในชุมชนเอง การแพร่ระบาดของสิ่งเสพติดในชุมชน คือปัญหาสังคมอีกปัญหาหนึ่งที่ท� ำให้ชุมชนบ้านสามขา มีความล้าหลังในการพัฒนาอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง การที่คนในชุมชนโดยเฉพาะเยาวชนที่หมกมุ่นอยู่กับ เหล้า บุหรี่ และยาบ้า เท่ากับเป็นการลดสมรรถนะและความสามารถในการแสวงหาความรู้ อีกทั้งโอกาส ในการท� ำงานหารายได้ของคนกลุ่มนี้ก็มีน้อย ซ�้ ำร้ายมากไปกว่านี้คือ สภาพการณ์ดังกล่าวยังเป็นสาเหตุ ท� ำให้เกิดปัญหาโจรกรรมและการทะเลาะวิวาทขึ้นในชุมชน (๒) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ในมิติของปัญหาด้านเศรษฐกิจข้อเขียนนี้ให้ความส� ำคัญกับปัญหา ๒ ประเด็น คือ อาชีพและรายได้ ชุมชนจะประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจทันทีเมื่อสมาชิกไม่มีอาชีพที่แน่นอน และเมื่อสมาชิกมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ กรณีบ้านสามขาไม่พบว่าประชาชนมีอาชีพที่ไม่แน่นอน ตรงกันข้าม มีหลากหลายอาชีพที่ชาวบ้านสามารถเลือกประกอบเพื่อเลี้ยงชีพได้ ทั้งการท� ำไร่ ท� ำนา หาของป่า การล่าสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ หรือแม้แต่การแกะสลักไม้ และการรับจ้างท� ำงานนอกหมู่บ้าน ที่ดูจะเป็นปัญหา คือ ภาวะการเป็นหนี้ของชาวบ้านในชุมชน เมื่อแรกก่อนที่จะมีการแนะน� ำเอาสิ่งอ� ำนวยความสะดวกใน รูปของระบบไฟฟ้า น�้ ำประปา โทรศัพท์ และถนนเข้าไปยังหมู่บ้าน ชุมชนบ้านสามขาไม่เคยเดือดร้อน เรื่องของรายรับ-รายจ่าย การด� ำรงชีวิตของชาวบ้านมีความผูกพันแน่นแฟ้นกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์กอปรกับวัฒนธรรมของคนชนบทที่เกื้อกูลกันและกัน ท� ำให้ เงินตราไม่มีความส� ำคัญมากนักในชีวิตประจ� ำวัน ต่อเมื่อมีสิ่งสาธารณูปโภค-สาธารณูปการเข้าไปยังหมู่บ้าน วิถีชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการบริโภคที่เน้นวัตถุและสิ่งอ� ำนวยความสะดวกสบายที่ ทันสมัยได้ท� ำให้ชาวบ้านต้องกู้หนี้ยืมสินหรือไม่ก็จัดซื้อสินค้าบริการนั้นมาด้วยระบบผ่อนส่ง เงินที่ได้มาจาก การประกอบอาชีพแทนที่จะถูกใช้จ่ายเพื่อสิ่งจ� ำเป็นส� ำหรับการด� ำรงชีวิตกลับถูกใช้ไปกับสินค้าและบริการ ที่ฟุ่มเฟือยไร้ความจ� ำเป็น ชาวบ้านเริ่มมีรายจ่ายมากกว่ารายรับที่หามาได้ ยิ่งนานหนี้สินก็ยิ่งพอกพูนมาก ขึ้นด้วยโลภจริตและความไม่รู้จักค� ำว่า “พอประมาณ”

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=