วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

249 ศาสตราจารย์ ดร.มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ในมิติด้านสังคม-เศรษฐกิจ สามารถกล่าวโดยรวมได้ว่าชุมชนบ้านสามขามีลักษณะคล้ายคลึง กับสังคมชนบทโดยทั่วไปของประเทศ กล่าวคือ ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ผู้คนส่วนใหญ่เป็นคนพื้นถิ่นใช้ภาษาถิ่น (ค� ำเมือง) ในการสื่อสาร และนับถือศาสนาพุทธ วิถีชีวิตของ ประชาชนยังยึดมั่นอยู่กับประเพณีปฏิบัติดั้งเดิมของชุมชนค่อนข้างเคร่งครัด ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ เศรษฐกิจ ชาวชุมชนบ้านสามขามีอาชีพและรายได้หลักมาจากการท� ำนา อาชีพและแหล่งรายได้รอง ค่อนข้างหลากหลายทั้งจากการเลี้ยงสัตว์ การแกะสลักไม้ การเก็บ/หาของป่า และการออกไปรับจ้าง ท� ำงานนอกหมู่บ้าน กรณีของสิ่งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ แม้ชุมชนบ้านสามขาจะไม่มีสิ่งอ� ำนวยความสะดวก สบายส� ำหรับการด� ำรงชีวิตเพียบพร้อมเหมือนสังคมเมืองโดยทั่วไป แต่สิ่งที่มีอ� ำนวยให้ก็ถือว่ามีความ เหมาะสมตามอัตภาพของความเป็นสังคมชนบท ในส่วนของสาธารณูปการ บ้านสามขามีโรงเรียนขั้น การศึกษาพื้นฐานระดับประถมศึกษา ๑ โรงเรียน มีวัด ๑ แห่ง มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจ� ำต� ำบล ๑ แห่ง และมีเส้นทางถนนเชื่อมต่อถึงตัวเมืองล� ำปางได้ค่อนข้างสะดวก กรณีของสาธารณูปโภค ประชาชน ในชุมชนบ้านสามขามีกระแสไฟฟ้าใช้กันทุกครัวเรือนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๙ น�้ ำเพื่อการบริโภคและอุปโภคได้ จากระบบประปาภูเขาที่ชาวบ้านร่วมมือกันจัดสร้าง มีการจัดตั้งโรงงานน�้ ำดื่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งส่งผลให้ ประชาชนมีน�้ ำสะอาดเพื่อการดื่มกิน นอกเหนือจากนี้ การติดต่อสื่อสารกับสังคมภายนอกสามารถท� ำได้ โดยผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการโทรศัพท์สาธารณะ และบริการของไปรษณีย์ไทย ภาพที่ ๑ เส้นทางเข้าสู่บ้านสามขา ภาพที่ ๒ การท� ำนาอาชีพหลักของชาวบ้าน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=