วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

15 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ส่งเสริมศิลปาชีพ นอกจากจะเป็นการขยายตลาดแล้ว ยังสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ชาวบ้าน ที่ผลงานของ พวกตนได้เป็นเครื่องทรงและเครื่องใช้สอยของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ท� ำให้ชาวบ้านเหล่านั้นมีก� ำลังใจมากขึ้น การที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชด� ำเนินเยี่ยมเยียน สมาชิกศิลปาชีพอย่างสม�่ ำเสมอมีส่วนสร้างก� ำลังใจให้กับบุคคลเหล่านั้น ในการเสด็จพระราชด� ำเนิน แต่ละครั้ง ทรงจับต้องผ้าซิ่นที่ชาวบ้านนุ่งมาเฝ้ารับเสด็จด้วยความสนพระราชหฤทัยในลวดลายและสีสัน ในเวลาเดียวกันก็ทรงเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้จับต้องฉลองพระองค์เพื่อส� ำรวจดูเนื้อผ้าและลวดลายสีสัน เช่นเดียวกัน ทั้งยังทรงซักถามเรื่องการท� ำมาหากินเลี้ยงชีพของราษฎรผู้นั้น มีพระราชปฏิสันถารกับราษฎร ด้วยถ้อยค� ำที่ชาวบ้านเข้าใจได้ง่าย บางครั้งก็ทรงใช้ภาษาท้องถิ่นประกอบไปด้วย ๒๙ ความสนพระทัยครอบคลุมไปถึงเรื่องสุขภาพด้วย ดังเช่นปัญหาสายตาที่อาจเป็น อุปสรรคต่อการผลิตงานศิลปะ ก็พระราชทานแว่นตาให้ดังที่ผู้ใหญ่บ้านนาโพธิ์ อ� ำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ เล่าว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถรับสั่งถามว่ามีสมาชิกที่สายตาไม่ดีหรือสายตาสั้น จ� ำนวนเท่าใด ต่อมาก็พระราชทานเงินมาให้ตัดแว่นสายตา เพื่อมิให้เกิดปัญหาในเวลาทอผ้า ดังที่ครูคนหนึ่ง ที่ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม เล่าว่า “เสด็จลงมาปุ๊บ ถามเลย เป็นไงประชาชนอยู่ดี เป็นอย่างไรไหม เข้ามาดู เป็นห่วง ท่านเป็นห่วงประชาชนมาก วัตถุท่านไม่เท่าไหร่ ท่านไม่สนใจหรอกว่าจะโอ่อ่าโอ่โถง... ท่านโปรดอย่างนั้น ให้เขาส� ำนึกว่าเขาเป็นคนอีสานจริงๆ” ๓๐ (๒) การส่งเสริมด้านการตลาด งานศิลปะในโครงการส่งเสริมศิลปาชีพและศูนย์ศิลปาชีพมีลักษณะเป็นศิลปะเพื่ออาชีพ จึงจ� ำเป็นต้องค� ำนึงถึงด้านการตลาดควบคู่กันไปด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงเอา พระทัยใส่เป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาผลผลิตทางศิลปะให้เป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งยังทรงเอาพระทัยใส่ ในการขยายตลาดของงานศิลปหัตถกรรมเหล่านี้ เมื่อพระองค์ทรงสนับสนุนให้สมาชิกของศิลปาชีพผลิต งานศิลปหัตถกรรมเพื่อเป็นอาชีพเสริม ก็ทรงตั้งพระราชหฤทัยอย่างเต็มที่ที่จะช่วยให้ศิลปหัตถกรรมนั้น ๆ จ� ำหน่ายได้อย่างกว้างขวาง เป็นช่องทางให้สมาชิกในโครงการส่งเสริมศิลปาชีพมีรายได้เพิ่มพูนขึ้น สามารถ ยึดถือเป็นอาชีพเสริมได้อย่างจริงจัง ในการปรับปรุงลวดลาย สี และรูปแบบของศิลปะผ้าทอของอีสานให้เป็นที่นิยมของตลาด นั้น ทรงแนะน� ำให้ใช้สีคุณภาพดีและหลากหลายสีขึ้น รวมทั้งเน้นการทอเป็นลวดลายเล็ก ๆ เช่น ผ้าไหมขิด เป็นลายเล็ก ๆ ตลอดทั้งผืน เหมาะส� ำหรับน� ำไปตัดชุดแต่งกายสตรี หรือผ้าไหมแพรวา เดิมทอเฉพาะสีแดง ๒๙ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. ประวัติผ้าไหมไทย . (กรุงเทพฯ: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จ� ำกัด, ๒๕๔๓), หน้า ๕๖. ๓๐ สัมภาษณ์นางประคอง ภาสาฐิติ ผู้ใหญ่บ้านนาโพธิ์ ณ อ� ำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ๒๐ มีนาคม ๒๕๓๕.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=